พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ตอนที่ ๑

พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม

          พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑

     ๑.อัตตวรรค คือ หมวดตน

๑. อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย.
     ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี.
     ขุ. ธ. ๒๕/๒๙.
 
๒. อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
    ได้ยินว่าตนแล ฝึกได้ยาก.
     ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.
 
๓. อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺส โชติ.
     ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นแสงสว่างของบุรุษ.
     สํ. ส. ๑๕/๒๔๘.
 
๔. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ.
     ตนแล เป็นที่พึ่งของตน.
     ขุ. ธ. ๒๕/๓๖,๖๖.
 
๕. อตฺตา หิ อตฺตโน คติ.
    ตนเทียว เป็นคติของตน.
     ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.

๖. อตฺตา หิ ปรมํ ปิโย.
     ตนแล เป็นที่รักยิ่ง.
     องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๗. นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ.
      ความรัก (อื่น) เสมอด้วยตนไม่มี.
      สํ. ส. ๑๕/๙.

๘. อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ.
     ตนทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง.
     ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๙. อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ.
     ตนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง.
     ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๑๐. อตฺตตฺถปญฺญา อสุจี มนุสฺสา.
       มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด.
       ขุ. สุ. ๒๕๑๓๓๙.

๑๑. อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.
       บัณฑิต ย่อมฝึกตน.
       ม. ม. ๑๓/๔๘๗. ขุ. ธ. ๒๕/๒๕. ขุ. เถร. ๒๖/๓๘๙.

๑๒. อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา.
     ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน.
     ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.

๑๓. อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.
       ผู้มีตนฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก.
       ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๑๔. โย รกฺขติ อตฺตานํ รกฺขิโต ตสฺส พาหิโร.
        ผู้ใดรักษาตนได้ ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันรักษาด้วย.
        องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๔๑๗.

๑๕. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ.
       ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี.
       ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๑๖. ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต.
       บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต.
       สํ. มหา. ๑๙/๒๙. ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

๑๗. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ.
        ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น.
        ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๑๘. อตฺตนา โจทยตฺตานํ.
       จงเตือนตนด้วยตนเอง.
        ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.

๑๙. ปฏิมํเสตมตฺตนา.
        จงพิจารณาตนด้วยตนเอง.
        ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.

๒๐. ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร.
       จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
       ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.

๒๑. อตฺตานุรกฺขี ภว มา อฑยฺหิ.
       จงเป็นผู้ตามรักษาตน อย่าได้เดือดร้อน.
       ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๗๒.

๒๒. อตฺตานญฺจ น ฆาเตสิ.
       อย่าฆ่าตนเสียเลย.
       ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๒๗๙.

๒๓. อตฺตานํ น ทเท โปโส.
        บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน.
        สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๒๔. อตฺตานํ น ปริจฺจเช.
        บุรุษไม่พึงสละเสียซึ่งตน.
        สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๒๕. อตฺตานํ นาติวตฺเตยฺย.
       บุคคลไม่ควรลืมตน.
       ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๐๓.

๒๖. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย.
       ไม่ควรพร่าประโยชน์ตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก.
       ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

๒๗. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา น นํ ปาเปน สํยุเช.
        ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ไม่ควรประกอบตนนั้นด้วยความชั่ว.
        สํ. ส. ๑๕/๑๐๔.

๒๘. ยทตฺตครหึ ตทกุพฺพมาโน.
       ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น.
       ขุ. ส. ๒๕/๔๘๖.

     ๒.อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท

๒๙. อปฺปมาโท อมตํปทํ.
      ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย.
      ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.

๓๐. อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฐํว รกฺขติ.
      ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด.
      ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๐.

๓๑. อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ.
      บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท.
      สํ. ส. ๑๕/๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๓. ขุ. ธ. ๒๕/๑๙. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๒.

๓๒. อปฺปมาเท ปโมทนฺติ.
       บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.
       ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.

๓๓. อปฺปมตฺตา น มียนฺติ.
       ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย.
       ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.

๓๔. อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ.
       ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์.
       ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๐.

๓๕. อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณฺหาติ ปณฺฑิโต.
       บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง.
       สํ. ส. ๑๕/๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๓. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๒.
 
๓๖. อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ.
       ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม.
       ที. มหา. ๑๐/๑๘๐. สํ. ส. ๑๕/๒๓๑.

๓๗. อปฺปมาทรตา โหถ.
       ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท.
        ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.

     ๓.กัมมวรรค คือ หมวดกรรม

๓๘. กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย.
        กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีต.
        ม. อุป. ๑๔/๓๘๕.

๓๙. ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.
        การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก.
        นัย-สํ. ส. ๑๕/๖๘. 

๔๐. สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ.
        กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคติ.
        ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

 ๔๑. สุกรํ สาธุนา สาธุ.
        ความดี อันคนดีทำง่าย.
         วิ. จุล. ๗/๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗.

๔๒. สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ.
        ความดี อันคนชั่วทำยาก.
         วิ. จุล. ๗/๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗.

๔๓. อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย.
       ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า.
       สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

๔๔. ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ.
         ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.
         สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

๔๕. กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย.
        ความดี ทำนั่นแล ดีกว่า.
        สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

 ๔๖. น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ.
         ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.
          สํ. ส. ๑๕/๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.

     ๔.กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส

๖๓. สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม.
        ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน.
        สํ. ส. ๑๕/๓๒. อง. ฉกฺก. ๒๒/๔๖๐.

๖๔. น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา.
       กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์.
       สํ. ส. ๑๕/๓๑.

๖๕. กาเมหิ โลกมฺหิ น อตฺถิ ติตฺติ.

       ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก.
       ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

๖๖. น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ.
       ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝนคือกหาปณะ.
       ขุ. ธ. ๒๕/๔๐. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๒.

๖๗. นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ.
        ทุกข์ (อื่น) ยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี.
        ขุ. ชา. เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕.

๖๘. นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.
        แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
        ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

๖๙. อิจฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา.
       ความอยากละได้ยากในโลก.
       ส. ส. ๑๕/๖๑.

๗๐. อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา.
       ความอยากมีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย.
        ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๔.

๗๑. อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ.
        ความอยากย่อมเสือไสซึ่งนรชน.
        สํ. ส. ๑๕/๖๑.

 ๗๒. นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ.
        ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี.
         ขุ. ธ. ๒๕-๔๒,๔๘.

๗๓. โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ.
        ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย.
        สํ. ส. ๑๕/๕๙.

๗๔. อติโลโภ หิ ปาปโก.
        ความละโมบเป็นบาปแท้.
        วิ. ภิ. ๓/๙๖. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๔.

๗๕. นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ.
         ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี.
         ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

๗๖. ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ.
        ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป.
        ม. ม. ๑๓/๔๑๑. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

๗๗. อูนา ว หุตฺวาน ชหนฺติ เทหํ.
        ผู้บริโภคกามเป็นผู้พร่อง ละร่างกายไป.
        ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗. 

 ๗๘. โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ หนฺติ อญฺเญว อตฺตนํ.
          ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้โภคทรัพย์.
          ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๗๙. อวิชฺชานิวุตา โปสา.
        คนทั้งหลายอันอวิชชาหุ้มห่อไว้.
        วิ. จุล. ๗/๔๐๐. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๓.
๔๗. ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.
        ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแลเป็นดี.
         สํ. ส. ๑๕/๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.

๔๘. สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ.
        การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย.
        ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

 ๔๙. ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.
         การใดแลเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง.
         ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

๕๐. น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา.
        สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย.
        สํ. ส. ๑๕/๑๐๔.

๕๑. กลฺยาณการี กลฺยาณํ. ปาปการี จ ปาปกํ.
       ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว.
        สํ. ส. ๑๕/๓๓๓. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๔.

๕๒. กมฺมุนา วตฺตี โลโก.
        สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม.
        ม. ม. ๑๓/๖๔๘. ขุ. สุ. ๒๕/๔๕๗.

๕๓. นิสมฺม กรณํ เสยฺโย.
        ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า.
         ว. ว.

๕๔. กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ.
        สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้.
        ส. ส.

๕๕. ปฏิกจฺเจว ตํ กยิรา ยํ ชญฺญา หิตมตฺตโน.
         รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว.
         สํ. ส. ๑๕/๘๑.

๕๖. กยิรา เจ กยิราเถนํ.
        ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ).
        สํ. ส. ๑๕/๖๗. ขุ. ธ. ๒๕๑๕๖.

๕๗. กเรยฺย วากฺยํ อนุกมฺปกานํ.
        ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู.
         ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๒.

๕๘. กาลานุรูปํว ธุรํ นิยุญฺเช.
        พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว.
        ว. ว.

๕๙. รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา.
        พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม.
        ส. ส.

๖๐. กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ.
       พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ.
       ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔.

๖๑. นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ.
       ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ.
        ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔.

๖๒. มา จ สาวชฺชมาคมา.
       อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย.
       ส. ฉ.

     ๕.โกธวรรค คือ หมวดโกรธ

๘๐. น หิ สาธุ โกโธ.
         ความโกรธไม่ดีเลย.
         ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๑๘๘.

๘๑. โกโธ สตฺถมลํ โลเก.
        ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก.
        สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๘๒. อนตฺถชนโน โกโธ.
        ความโกรธก่อความพินาศ.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๘๔. อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โกโธ สหเต นรํ.
        ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีเมื่อนั้น.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙. ขุ. มหา. ๒๙/๑๘.

๘๕. อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช.
        ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทนจึงทวีขึ้น.
        ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๓.

๘๖. โกโธ ทุมฺเมธโคจโร.
        ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม.
        ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๘๐.

๘๗. โทโส โกธสมุฏฺฐาโน.
         โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน.
         ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๓.

๘๘. นตฺถิ โทสสโม คโห.
        ผู้จับเสมอด้วยโทสะ ไม่มี.
        ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

๘๙. นตฺถิ โทสสโม กลิ.
        ความผิดเสมอด้วยโทสะไม่มี.
        ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๙๐. โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ.
        ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข.
        สํ. ส. ๑๕/๕๗, ๖๔.

๙๑. โกธํ ฆตฺวา น โสจติ.
        ฆ่าความโกรธได้ ไม่เศร้าโศก.
        สํ. ส. ๑๕/๕๗, ๖๔.

๙๒. โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ.
        ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย.
        นัย. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๘๖.

๙๓. โกธโน ทุพฺพณฺโณ โหติ.
        คนมักโกรธ ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๔. ทุกฺขํ สยติ โกธโน.
        คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์.
        นัย. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๕. อโถ อตฺถํ คเหตฺวาน อนตฺถํ ปฏิปชฺชติ.
        คนมักโกรธถือเอาประโยชน์แล้ว กลับประพฤติไม่เป็นประโยชน์.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๖. โกธาภิภูโต ปุริโส ธนชานึ นิคจฺฉติ.
        ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๗. โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺยํ นิคจฺฉติ.
         ผู้เมามึนด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์.
         องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๘. ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ.
        ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๙๙. กุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ.
        ผู้โกรธ ย่อมไม่รู้อรรถ.
        องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๐. กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ.
          ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม.
          องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๑. ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ.
          ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย.
          องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๒. ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ.
          ภายหลัง เมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้.
          องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๓. โกเธน อภิภูตสฺส น ทีปํ โหติ กิญฺจินํ.
          ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมไม่มีที่พำนักสักนิดเดียว.
          องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๔. หนฺติ กุทฺโธ สมาตรํ.
          ผู้โกรธ ย่อมฆ่ามารดาของตนได้.
          องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๕. โกธชาโต ปราภโว.
           ผู้เกิดความโกรธแล้ว เป็นผู้ฉิบหาย.
           องฺ. สตฺตก. ๒๓/๑๐๐.

 ๑๐๖. โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท.
          พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ.
          นัย. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๑๐๐.

๑๐๗. โกธํ ปญฺญาย อุจฺฉินฺเท.
           พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา.
           นัย-องฺ. สตฺตก. ๒๓/๑๐๐.

๑๐๘. มา โกธสฺส วสํ คมิ.
          อย่าลุอำนาจความโกรธ.
          ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๙.

     ๖.ขันติวรรค คือ หมวดอดทน

๑๐๙. ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา.
           ขันติคือความอดทน เป็นตปะอย่างยิ่ง.
           ที. มหา. ๑๐/๕๗. ขุ. ธ. ๒๕/๔๐.

๑๑๐. ขนฺติ สาหสวารณา.
          ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน.
           ว. ว.

๑๑๑. ขนฺติ หิตสุขาวหา.
          ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข.
          ส. ม.

๑๑๒. ขนฺติ ธีรสฺสลงฺกาโร.
          ความอดทน เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์.
          ส. ม.

๑๑๓. ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน.
          ความอดทน เป็นตปะของผู้พากเพียร.
          ส. ม.

๑๑๔. ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ.
          ความอดทน เป็นกำลังของนักพรต.
          ส. ม.

๑๑๕. ขนฺติพลา สมณพฺราหฺมณา.
           สมณพราหมณ์ มีความอดทนเป็นกำลัง.
           องฺ. อฏฐก. ๒๓/๒๒๗.

๑๑๖. มนาโป โหติ ขนฺติโก.
          ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจ (ของคนอื่น).
          ส. ม.

     ๗.จิตตวรรค คือหมวดจิต

๑๑๗. จิตฺเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา
           เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง.
           ม. มู. ๑๒/๖๔.

๑๑๘. จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา.
          เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้
          ม. มู. ๑๒/๖๔.

๑๑๙. จิตฺเตน นียติ โลโก.
         โลกอันจิตย่อมนำไป.
         สํ. ส. ๑๕/๕๔.

๑๒๐. จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ.
         การฝึกจิตเป็นความดี.
         ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๑๒๑. จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
         จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.
         ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๑๒๒. จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
          จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.
          ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๑๒๓. วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี.
          ผู้ประพฤติตามอำนาจจิต ย่อมลำบาก.
          ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๐.

๑๒๔. จิตฺตํ อตฺตโน อุชุกมกํสุ.
          คนฉลาดได้ทำจิตของตนให้ซื่อตรง.
          ที. มหา. ๑๐/๒๘๘.

๑๒๕. สจิตฺตปริยายกุสลา ภเวยฺยุํ.
          พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน.
          นัย-องฺ. ทสก. ๒๔/๑๐๐.

 ๑๒๖. เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข.
          พึงรักษาจิตของตน. เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน.
          ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑.

๑๒๗. สจิตฺตมนุรกฺขถ.
          จงตามรักษาจิตของตน.
          ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.

๑๒๘. จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี.
           ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต.
           ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๑๒๙. ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย.
         ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ.
         สํ. ส. ๑๕/๒๐.

     ๘.ชยวรรค คือ หมวดชนะ

๑๓๐. ชยํ เวรํ ปสวติ.
        ผู้ชนะ ย่อมก่อเวร.
        สํ. ส. ๑๕/๑๒๒. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๓๑. สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ.
       การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง.
       ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๑๓๒. สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ.
          รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง.
          ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๑๓๓. สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ.
          ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง.
          ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๑๓๔. ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
          ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกทั้งปวง.
          ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๑๓๕. น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ.
          ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี.
          ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๒.

๑๓๖. ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติ.
         ความชนะใดที่ชนะแล้วไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นดี.
         ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๒.

๑๓๗. อกฺโกเธน ชิเน โกธํ.
          พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ
          ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.

๑๓๘. อสาธุํ สาธุนา ชิเน.
          พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี.
          ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.

๑๓๙. ชิเน กทริยํ ทาเนน.
          พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้.
          ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.

๑๔๐. สจฺเจนาลิกวาทินํ.
          พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง.
         ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.

     ๙.ทานวรรค คือ หมวดทาน

๑๔๑. ทานญฺจ ยุทฺธญฺจ สมานมาหุ.
          ท่านว่า ทานและการรบ เสมอกัน.
          สํ. ส. ๑๕/๒๙. ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/๒๔๙.

๑๔๒. นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ อปฺปกา นาม ทกฺขิณา.
         เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี.
         ขุ. วิมาน. ๒๖/๘๒.

๑๔๓. วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ.
         การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ.
         สํ. ส. ๑๕/๓๐. ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/๒๔๙. เปต. ๒๖/๑๙๗.

๑๔๔. พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ.
         คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน.
         ขุ. ธ. ๒๕/๓๘. 

๑๔๕. ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ.
         ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้.
         สํ. ส. ๑๕/๓๑๖.

๑๔๖. ททํ ปิโย โหติ ภชนฺติ นํ พหู.
         ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา.
         องฺ. ปญฺก. ๒๒/๔๓.

๑๔๗. ททมาโน ปิโย โหติ.
         ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก.
         องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๔.

๑๔๘. สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ.
         ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข.
          องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๕.

๑๔๙. มนาปทายี ลภเต มนาปํ.
         ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ.
         องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๕.

๑๕๐. เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ.
         ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ.
         องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๖.

 ๑๕๑. อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ.
         ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก.
         องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๖.

๑๕๒. ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ.
         เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น.
         ที. มหา. ๑๐/๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/๒๑๕.

๑๕๓. ทเทยฺย ปุริโส ทานํ.
         คนควรให้ของที่ควรให้.
         ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๑๗.

     ๑๐.ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์

๑๕๔. นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา.
          ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ ไม่มี.
          ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๕๕. สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา.
         สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง.
         ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๕๖. ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา.
         เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้.
         ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.

๑๕๗. ทฬิทฺทิยํ ทุกขํ โลเก.
          ความจนเป็นทุกข์ในโลก.
          องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๙๔.

๑๕๘. อิณาทานํ ทุกขํ โลเก.
          การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก.
          นัย-องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๙๔.

๑๕๙. ทุกฺขํ อนาโถ วิหรติ.

          คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์.
          นัย-องฺ. ทสก. ๒๔/๒๗, ๓๑.

๑๖๐. ทุกขํ เสติ ปราชิโต.
         ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์.
         สํ. ส. ๑๕/๑๒๒. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๖๑. อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา.
        ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล.
         ขุ. ธ. ๒๕/๔๔.

     ๑๑.ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม

๑๖๒. ธมฺโม รหโท อกทฺทโม.
          ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม.
          ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๒๐๒.

๑๖๓. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา.
         ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า.
         ขุ. ธ. ๒๕/๑๕.

๑๖๔. ธมฺโม หิ อิสินํ ธโช.
         ธรรมแล เป็นธงชัยของพวกฤษี.
         สํ. นิ. ๑๖/๒๖. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๖๖. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๕๒.

๑๖๕. สตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย.
         ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก.
         สํ. ส. ๑๕/๒๖. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗๑๖๓. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗๑๒๙๔.

๑๖๖. สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ.
         ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า.
         สํ. ส. ๑๕/๑๐๒. ขุ. ธ. ๒๕/๓๕. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๓๖.

๑๖๗. สทฺธมฺโม สพฺภิ รกฺขิโต.
        ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษรักษา.
        ที. มหา. ๑๐/๒๗๙.

๑๖๘. ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ.
         ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้.
         สํ. ส. ๑๕/๕๘. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๐. ขุ. ชา. ทสก. ๒จ/๒๙๐. ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๔.

๑๖๙. สพฺเพสํ สหิโต โหติ สทฺธมฺเม สุปติฏฺฐิโต.
         ผู้ตั้งมั่นในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง.
         องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๔๙.

๑๗๐. ธมฺมปีติ สุขํ เสติ.
         ผู้มีปีติในธรรม อยู่เป็นสุข.
         ขุ. ธ. ๒๕/๒๕.

๑๗๑. ธมฺมจารี สุขํ เสติ.
         ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข.
         ขุ. ธ. ๒๕/๓๗, ๓๘. ขุ. อุ. ๒๕/๓๖๖.

 ๑๗๒. ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺจารึ.
          ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.
          ขุ. ชา. ทสกฺ ๒๗/๒๙๐. ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๔.

๑๗๓. น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.
          ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ.
          ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๙๐. ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๔.

๑๗๔. ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ.
          เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
          องฺ. ปญฺจก. ๒๓/๕๑.

๑๗๕. ธมฺเม ฐิตา เย น กโรนฺติ ปาปกํ.
          ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป.
          องฺ. จตุตกฺก. ๒๑/๒๕.

๑๗๖. สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย.
         สภาวธรรมทั้งปวง ไม่ควรถือมั่น.
         ม. ม. ๑๒/๔๖๔.

๑๗๗. โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ.
          พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย.
          ม. อุปฺ ๑๔/๔๗๑. สํ. ส. ๑๕/๗๘. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๓.

 ๑๗๘. ธมฺมํ จเร สุจิตํ น ตํ ทุจฺจริตํ จเร.
           พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่ควรประพฤติให้ทุจริต.
           ขุ. ธ. ๒๕/๓๘. ขุ. อุ. ๒๕/๓๖๖.

๑๗๙. สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ.
          ควรเคารพสัทธรรม.
          องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๗.

๑๘๐. กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย.
         บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย.
         สํ. มหา. ๑๙/๒๙. ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

๑๘๑. สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต.
         บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว.
         สํ. มหา. ๑๙/๒๙. ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.


30 July 2018

วัดนิคมสโมสร(บางคลี)