วิชาศาสนพิธี

ศาสนพิธี คือแบบอย่าง หรือแบบแผนพิธีการต่าง ๆ ที่พึงปฏิบัติทางศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา เรียกว่า ศาสนพิธี

ศาสนพิธี
     ศาสนพิธี  คือแบบอย่าง  หรือแบบแผนพิธีการต่าง ๆ ที่พึงปฏิบัติทางศาสนา  โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา  เรียกว่า  ศาสนพิธี  ผู้ที่ทราบเรื่องศาสน
พิธีดีแล้ว  ย่อมได้รับประโยชน์หลายอย่าง  เป็นผู้ฉลาดในพิธีกรรมที่ต้องปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศล  การทำบุญ  และการถวายทานได้อย่างถูกต้อง
ตามระเบียบแบบแผน  อันเป็นการสืบต่อรักษาไว้ซึ่งขนบประเพณีอันงดงามของพระพุทธศาสนาเอาไว้  อันจะส่งผลให้พระพุทธศาสนามั่นคง  ศาสน
พิธีซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องห่อหุ้มศาสนาไว้ให้ศาสนิกชนทั่วไปได้เห็นและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง  เพื่อก่อให้เกิดศรัทธา  ความเชื่อ  ปสาทะ  ความ
เลื่อมใสต่อพระศาสนาในเบื้องต้น  ในทางพระศาสนาพุทธ  สามารถแยกออกเป็นหมวด ๆ ได้ดังนี้
หมวดที่  ๑  เกี่ยวกับกุศลพิธี
หมวดที่  ๒  เกี่ยวกับบุญพิธี
หมวดที่  ๓  เกี่ยวกับทานพิธี
หมวดที่  ๔  เกี่ยวกับปกิณกะ(ทั่วไป)

หมวดที่ ๑  กุศลพิธี
     กุศลพิธี  เป็นเรื่องพิธีกรรมต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วยการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนาเฉพาะตัวบุคคลเป็นการสร้างความดีแก่ตนทางพระพุทธ
ศาสนาตามพิธี  แบ่งเป็น  ๒  พิธีได้แก่
๑.  พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
๒.  พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
๓.  พิธีรักษาอุโบสถ

พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
     การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ  คือการประกาศตนของผู้แสดงว่า เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา คือประกาศว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
ที่ระลึกของตน  มีระเบียบปฏิบัติดังนี้  
การมอบตัว
-  เข้าไปหาพระอาจารย์ ทำความเคารพ  แจ้งความประสงค์ให้พระอาจารย์ทราบ
-  การมอบตัว  ให้ผู้แสดงตนเป็นพุทธมามกะถือดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปหาพระอาจารย์ แล้วนั่งคุกเข่าลงกับพื้น ยกพานดอกไม้ธูปเทียนขึ้นประเคนพระ
อาจารย์  แล้วกราบด้วยเบญจาคประดิษฐ์  ๓  ครั้ง  นั่งพับเพียบคอยฟังคำแนะนำ
-  เมื่อตกลงเรียบร้อยแล้วต้องขอเผดียงสงฆ์ต่อหน้าพระอาจารย์  โดยต้องไม่น้อยกว่า  ๓  รูป  รวมทั้งอาจารย์เป็น  ๔  รูป
เตรียมการ
-  ผู้แสดงต้องแต่งกาบให้สุภาพ เรียบร้อย ถ้าเป็นนักเรียนสมควรสวมใส่ชุดนักเรียน
-  เตรียมดอกไม้ ธูปเทียน ใส่พาน ๑ ที่
-  เตรียมไทยทานถวายพระสงฆ์ตามแต่ศรัทธา
พิธีการ
-  ให้ผู้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ เข้าไปนั่งคุกเข่าหน้าโต๊ะหมู่บูชาที่จัดไว้  จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
-  เดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์  นั่งลงถวายเครื่องสักการะแก่พระอาจารย์แล้วกราบลง  ๓  ครั้ง
-  กล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
-  พระอาจารย์กล่าวโอวาทและอนุโมทนา เป็นเสร็จพิธี

คำปฏิญาณ
เอสาหํ  ภนฺเต  สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ  ตํ  ภควนฺตํ  สรณํ  คจฺฉามิ  ธมฺมญฺจ  พุทฺธมามโกติ  มํ  สงฺโฆ  ธาเรตุ  ฯ
คำแปล
     ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์นั้น  แม้ปรินิพพานนานแล้ว  ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์  เป็นสรณะที่นับถือ  ขอ
พระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่า  เป็นพุทธมามกะ  ผู้รับเอาพระพุทธเจ้า  เป็นของตน  คือผู้นับถือพระพุทธเจ้า
หมายเหตุ
     ถ้าปฏิญาณพร้อมกันหลายคนทั้งชายหญิง  คำปฏิญาณให้เปลี่ยนเฉพาะที่ขีดเส้นใต้ไว้ดังนี้
เอสาหํ  เป็นชายว่า  เอเต  มยํ  หญิงว่า  เอตา  มยํ
คจฺฉามิ  เป็น  คจฺฉาม  (ทั้งชายและหญิง)
พุทฺธมามโกติ  เป็น  พุทฺธมามกาติ  (ทั้งชายและหญิง)
มํ  เป็น  โน  (ทั้งชายและหญิง)
     คำแปลก็เปลี่ยนเฉพาะคำว่า  ข้าพเจ้า  เป็น  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ที่เหลือว่าเหมือนกัน  สำหรับหญิงผู้ปฏิญาณคนเดียว  ว่า  เอสาหํ  ฯลฯ  พอถึง  พุ
ทฺธมามโกติ  เปลี่ยนเป็น  พุทฺธมามกาติ

พิธีเวียนเทียนทางพระพุทธศาสนา
     วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนนิยมประกอบพิธีกรรมมีการบูชา  ถือศีล  ถวายทาน เพื่อเพิ่มความดีแก่ตน  และเป็นการระลึกถึงคุณ
พระรัตนตรัยเป็นพิเศษ  นอกจากจะประกอบพิธีกรรมดังกล่าวแล้ว  ยังมีการเวียนเทียนด้วย  การเวียนเทียนนี้  คือการที่พุทธบริษัทถือดอกไม้ธูป
เทียนจุดประนมมือเดินเวียนขวา(ประทักษิณ)  รอบปูชนียวัตถุในวัด  หรือสถานแห่งใดแห่งหนึ่ง  ๓  รอบ  ส่งใจระลึกถึงพระพุทธเจ้า  พระธรรม  พระ
สงฆ์  ในขณะที่เดินเวียน  เสร็จแล้วนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปปักบูชาปูชนียวัตถุที่เวียนนั้น
     วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมเวียนเทียนนั้น  มีอยู่  ๔  วันคือ
๑.วันมาฆบูชา  คือวันเพ็ญเดือน  ๓  เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาฏิโมกข์  อันเป็นหลักการของพระพุทธศาสนา  หรือเรียกอีกอย่าง
หนึ่งว่า  วันจาตุรงคสันนิบาต  เพราะมีเหตุการณ์ที่เกิดในวันนั้น  ๔  ประการได้แก่
๑.พระสงฆ์จำนวน  ๑,๒๕๐  รูป  มาประชุมพร้อมกันซึ่งล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
๒.พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นเอหิภิกขุ  คือได้รับการอุปสมบทแต่สำนักพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
๓.พระสงฆ์เหล่านั้น  มาพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย  มาตามลำพังตนเอง
๔.วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ
๒.วันวิสาขบูชา คือวันเพ็ญเดือน  ๖  เป็นวันคล้ายวันประสูติ  ตรัสรู้ และปรินิพพาน  ของพระพุทธเจ้า
๓.วันอัฐมีบูชา  คือวันแรม  ๘  ค่ำเดือน  ๖  หลังวันวิสาขบูชา  ๗  วัน  เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ  ที่เมืองกุสินารา
๔.วันอาสาฬหบูชา  คือวันเพ็ญเดือน  ๘  เป็นวันคล้ายวันแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า  และเป็นวันคล้ายวันกำเนิดสังฆรัตนะ  คือมีพระสงฆ์
รูปแรกเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา  ชื่อว่าพระอัญญาโกณฑัญญะ  นับว่าเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบสมบูรณ์

พิธีรักษาอุโบสถ
อุโบสถ  แปลว่า  การเข้าจำ  เพื่อขัดเกลากิเลสให้เบาบาง  การรักษาอุโบสถ  คือการสมาทานศีล  ๘  อย่างเคร่งครัด  มี  ๒  อย่างคือ
     ๑.ปกติอุโบสถ  รักษาเฉพาะวันและคืนหนึ่งในวันพระ
     ๒.ปฏิชาครอุโบสถ  รักษาคราวละ  ๓  วัน  เช่นรักษาอุโบสถในวัน  ๘  ค่ำ  ก็รับตั้งแต่  ๗  ค่ำ  ๘  ค่ำ  และ  ๙  ค่ำ  เป็นวันส่ง  เป็นต้น
คำอาราธนาอุโบสถศีล
     มยํ  ภนฺเต  ติสรเณร  สห  อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ  อุโบสถํ  ยาจาม  (ว่า  ๓  จบ)
     ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ย่อมขอซึ่งศีลอุโบสถ  อันประกอบด้วยองค์  ๘  ประการ  พร้อมกับไตรสรณคมน์

หมวดที่  ๒  บุญพิธี
     เป็นพิธีเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัว  อันมีส่วนพัวพันกับชีวิตของคนไทยทั่วไป  ส่วนมากทำกันเกี่ยวกับเรื่องฉลองบ้าง เรื่องทำบุญตักบาตบ้าง  
เรื่องตายบ้าง  เป็นประเพณีปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณ  บุญพิธี  อาจแยกเป็น ๒ เรื่องคือ
๑.  ทำบุญงานมงคล
๒.  ทำบุญงานอวมงคล
     ทำบุญงานมงคล  เป็นงานทำบุญที่ปรารภความเป็นสิริมงคลแก่ผู้กระทำ(เจ้าภาพ)  มีการนิมนต์พระสงฆ์มาร่วมพิธีด้วยการสวดของพระสงฆ์ที่เรียก
ว่า  การเจริญพระพุทธมนต์  และก่อนที่จะเริ่มพิธีนั้น  เจ้าภาพต้องตระเตรียมสิ่งของที่จำเป็นในพิธีเช่น  จัดอาสนะ  ตั้งภาชนะทำน้ำมนต์  ไทยทาน
ถวายพระสงฆ์ไว้ให้พร้อม  เริ่มพิธีด้วยการจุดธูปเทียน  บูชาพระรัตนตรัยเป็นอันดับแรก  ต่อจากนั้นก็มีการสมาทานศีล  ๕  และท้ายพิธี  มีการถวาย
ไทยทานแก่พระสงฆ์  พระสงฆ์อนุโมทนา  เจ้าภาพกรวดน้ำเป็นเสร็จพิธี
     ทำบุญงานอวมงคล  เป็นงานทำบุญที่ปรารภการตายจากไปของปูชนียบุคคลเช่น  ทำบุญหน้าศพ  ทำบุญ  ๗  วัน  ทำบุญ  ๕๐  วัน  ทำบุญอัฐิเป็น
ต้น  มีการนิมนต์พระสงฆ์มาร่วมพิธี  เหมือนงานมงคล  การสวดของพระสงฆ์  เรียกว่าการสวดพระพุทธมนต์  สำหรับพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เนื่องด้วยทาง
ศาสนานั้นก็คล้าย ๆ กับการทำบุญงานมงคล  เพียงแต่ไม่ต้องตั้งขันน้ำมนต์  ไม่มีการวงด้ายสายสิญจน์
     อย่างไรก็ตาม  การทำบุญทั้งสองประเภทนี้  ก็นิยมทำจนเป็นประเพณีตลอดนอกจากจะมีความเชื่อถือว่า  เป็นศาสนพิธีแล้วก็ยังเป็นสาเหตุให้เกิด
การรวมญาติอีกด้วย  จึงนับว่าประเพณีการทำบุญนี้ มีส่วนสำคัญต่อชีวิตประจำวันของประชาชนชาวพุทธทั่วไป  อย่างน้อยก็เป็นการสืบอายุพระพุทธ
ศาสนา  เพิ่มศรัทธาปสาทะให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป  ข้อสำคัญที่ควรจะสำนึกไว้ในการทำบุญอย่างนี้  ก็คือควรทำพอประมาณแก่ฐานะ  อย่าให้เดือดร้อนตามมา
ภายหลัง  เข้าทำนองที่ว่า  คนตายขายคนเป็น  เพราะแทนที่จะได้บุญกับได้บาปแทน


หมวดที่  ๓  ทานพิธี
     ทานพิธีเป็นพิธีเกี่ยวกับการถวายทาน  เสียสละวัตถุสิ่งของให้เป็นทาน  มีจุดประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความเห็นแก่ตัว  ความตระหนี่ถี่เหนียวออกไป  
การถวายทานนั้นก็มีการกระทำในหลาย ๆ รูปแบบเช่นการทอดกฐิน  การทอดผ้าป่า  การถวายสังฆทาน  เป็นต้น
     ทานวัตถุ  วัตถุที่ควรถวายแก่ภิกษุมี  ๑๐  อย่าง  คือ
๑.ภัตตาหาร
๒.น้ำพร้อมเครื่องดื่มอันสมควรแก่สมณบริโภค
๓.เครื่องนุ่งห่ม
๔.ยานพาหนะสงเคราะห์ปัจจัยค่าโดยสารเข้าด้วย
๕.ดอกไม้และเครื่องบูชาชนิดต่าง ๆ 
๖.ธูป  เทียนบูชาพระ
๗.เครื่องสุขภัณฑ์สำหรับชำระร่างกายให้สะอาด  เช่นสบู่  ยาสีฟัน  เป็นต้น
๘.ทีนอนอันสมควรแก่สมณะ
๙.ที่อยู่อาศัย  เช่นกุฏิ  เสนาสนะ  และเครื่องสำหรับใช้ในเสนาสนะ  มีตู้  โต๊ะ  เป็นต้น
๑๐.เครื่องสำหรับให้แสงสว่างทุกชนิด  มีตะเกียง  ไฟฟ้า  เป็นต้น
     การถวายทานมี  ๒  อย่างคือ
๑.ปาฏิปุคคลิกทาน  หมายถึงการถวายทานเจาะจงเฉพาะรูปนั้นรูปนี้
๒.สังฆทาน  หมายถึงการถวายทานไม่เจาะจง  มอบถวายเป็นของสงฆ์  ให้เฉลี่ยกันใช้สอยเป็นของส่วนรวมภายในวัด
     การถวายสังฆทาน  มีระเบียบการดังนี้
- ตั้งใจถวายเป็นสงฆ์จริง ๆ อย่าเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  อันจะทำให้จิตใจไขว้เขว
- ตระเตรียมวัตถุที่จะถวายให้พร้อม
- เผดียงสงฆ์  คือแจ้งความประสงค์ที่จะถวายทานให้พระสงฆ์ทราบ
- จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย  สมาทานศีล  และกล่าวคำถวายสังฆทาน
- พระสงฆ์รับสังฆทานและอนุโมทนา  เป็นเสร็จพิธี
การรทอดกฐิน  การทอดกฐินเป็นประเพณีสำคัญสำหรับชาวพุทธอย่างหนึ่ง  เป็นกาลทานคือกำหนดเวลาสำหรับการทอดไว้  เพียงเดือนเดียว  คือเริ่ม
ตั้งแต่วันแรม  ๑  ค่ำ  เดือน  ๑๑  ถึงวันขึ้น  ๑๕ ค่ำเดือน  ๑๒  คำว่ากฐิน  แหลว่ากรอบไม้  หรือไม้สะดึง  หรับขึงผ้าทำจีวร  เพราะสมัยก่อนจีวรหา
ยากจึงต้องแสวงหาจีวรมาทำกันเอง  ปัจจุบันกฐินมี  ๒  ชนิด
     ๑.จุลกฐิน  คือการทอดกฐินที่ทำอย่างรีบด่วน   ช่วยกันทำให้เสร็จถวายในวันนั้น
     ๒.มหากฐิน  หรือบางครั้งเรียกว่า  กฐินสามัคคี  เพราะประกอบด้วยบริวารกฐินมาก
     การทอดผ้าป่า  เป็นประเพณีที่สืบต่อกันมา  กรรมวิธีก็คล้าย ๆ กับการทอดกฐิน  แต่รายละเอียดปลีกย่อยน้อยกว่าในครั้งพุทธกาล  เรียกว่า  ทอด
ผ้าบังสกุล(ผ้าเปื้อนฝุ่น)  ไม่มีเจ้าของหวงแหน  พระสงฆ์ไปพบก็ไปชักบังสุกุลมาใช้เป็นจีวร  การทอดผ้าป่าจะทำเมื่อไรก็ได้ไม่นิยมกาลเวลา ปัจจุบัน
มักจะเป็นไปในรูป ผ้าป่าสามัคคี

คำถวายสังฆทาน(แบบสามัญ)
      อิมานิ  มะยัง  ภันเต  ภัตตานิ  สะปะริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ  สาธุ  โน  ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  ภัตตานิ  สะปะริวารานิ  ปะ
ฏิคคัณหาตุ  อัมหากัง  ฑีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ  ฯ
คำแปล
     ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ภัตตาหาร  กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุข
 แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  แก่ญาติทั้งหลาย  มีมารดาบิดาเป็นต้น  สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

หมวดที่  ๔  หมวดปกิณณกะ
     ปกิณณะนี้  หมายถึงพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติบางประการในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ท่านได้นำมาชี้แจงเพื่อให้เข้าใจ  
และปฏิบัติได้ถูกต้องอีก  ๕  ประการคือ
๑.วิธีแสดงความเคารพพระ
๒.วิธีประเคนของพระ
๓.วิธีทำหนังสืออาราธนา  และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย
๔.วิธีอาราธนาศีล  อาราธนาพระปริตร  อาราธนาธรรม
๕.วิธีกรวดน้ำ
รายละเอียดจะได้แสดงไปเป็นลำดับดังนี้  คือ

วิธีแสดงความเคารพพระ
    การแสดงความเคารพนี้  เป็นการแสดงถึงว่า  ผู้นั้นเป็นคนอ่อนน้อมต่อผู้ที่เคารพด้วยกายใจอย่างแท้จริง  ผู้ที่ควรเคารพในที่นี้  ได้แก่  พระ
พุทธรูป  หรือปูชนียวัตถุ  และพระภิกษุสามเณร  การแสดงความเคารพนี้มี  ๓  อย่าง  คือ  การประนมมือ  การไหว้  และการกราบ
    ประนมมือ(อัญชลี)  คือการทำกระพุ่มมือทั้งสองประนมให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน  นิ้วทุกนิ้วของมือทั้งสองแนบชิดตรงกัน  ไม่เหลื่อมล้ำ
กว่ากันหรือกางให้ห่างตั้งไว้ระหว่างอก  ให้ตั้งขึ้นข้างบนมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูมแนบศอกทั้งสองข้างชิดชายโครง  เป็นการแสดงความเคารพเวลา
สวดมนต์หรือฟังพระสวดและฟังเทศน์เป็นต้น  ทำเหมือนกันทั้งหญิงและชาย
    การไหว้(นมัสการหรือวันทา)  คือการยกมือที่ประนมแล้วดังกล่าวขึ้นพร้อมกับก้มศรีษะลงเล็กน้อย  ให้มือที่ประนมจดหน้าผาก  นิ้วหัวแม่
มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วเป็นการแสดงความเคารพพระในขณะนั่งบนเก้าอี้  หรือยืนอยู่  ทำเหมือนกันทั้งหญิงและชาย
    การกราบ(อภิวาท)  คือการแสดงอาการกราบลงกับพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์  ได้แก่นั่งคุกเข่า  ประนมมือไหว้  แล้วหมอบลงทอดฝ่ามือ
ทั้งสองลงที่พื้นแหวกช่องระหว่างฝ่ามือที่วางราบนั้น  ให้ห่างกันเล็กน้อย  แล้วก้มลงตรงระหว่างนั้น  ให้หน้าผากจดกับพื้น  เรียกว่า  กราบให้พร้อมด้วย
องค์  ๕  คือ  หน้าผาก  ๑  ฝ่ามือทั้ง  ๒  และเข่าทั้ง  ๒  จรดกับพื้น

วิธีประเคนของพระ
    วิธีประเคน(ถวาย)ของพระ  การถวายปัจจัยต่าง ๆ แก่พระสงฆ์ต้องถวายด้วยความเคารพเพราะพระสงฆ์ตั้งอยู่ในฐานะ “ปูชนียบุคคล”  เรา
นำสิ่งของไปถวายท่านเพื่อบูชาในคุณธรรมของท่าน  จึงต้องน้อมกาย น้อมใจ เข้าไปถวายท่าน  การกระทำดังนี้เรียกว่า  “ประเคน”
องค์ประเคนมี  ๕  อย่างดังนี้
-  สิ่งของที่ประเคนต้องไม่ใหญ่โตและหนักเกินไป
-  ผู้ประเคนต้องอยู่ในหัตถบาส(คือหนึ่งช่วงแขน)
-  ผู้ประเคนน้อมสิ่งของนั้นเข้ามาให้ด้วยอาการเคารพนอบน้อม
-  การน้อมสิ่งของนั้นเข้ามานั้น  จะส่งด้วยมือ  หรือสิ่งที่เนื่องด้วยกายก็ได้
-  พระภิกษุผู้รับประเคนจะรับด้วยมือก็ได้  ถ้าผู้ประเคนเป็นชาย  ถ้าผู้ประเคนเป็นหญิงพระต้องใช้ผ้ารับ

วิธีอาราธนาและทำใบปวารณา
การอาราธนาพระ  ได้แก่การนิมนต์พระสงฆ์ไปประกอบพิธีต่าง ๆ นั่นเอง  ในสมัยก่อนนิยมนิมนต์ด้วยวาจา  แต่ในปัจจุบันนิยมทำเป็นหนังสือเพื่อแจ้ง
กำหนดงานและรายการให้พระสงฆ์ทราบ  หนังสือนิมนต์นี้  เรียกว่า  ฎีกานิมนต์พระ  มีข้อความที่จะแสดงดังนี้

ขออาราธนาพระคุณเจ้า  (พร้อมพระสงฆ์ในวัดนี้อีก……….รูป)  เจริญพระพุทธมนต์ (หรือสวดมนต์  หรือแสดงพระธรรมเทศนา  แล้วแต่กรณี)  ใน
งาน………………………………….  ที่บ้านเลขที่………..ตำบล…………………….  อำเภอ……………………………..จังหวัด…………………….  กำหนดวัน
ที่…………เดือน…………………………..พ.ศ…………………..เวลา……………….น.

ถ้าหากจะนิมนต์ให้รับบิณฑบาตเช้า  หรือเพล  ให้บอกด้วย  ถ้าต้องการตักบาตรหรือปิ่นโต  ก็ต้องบอกไว้ในใบฎีกาให้นำไปด้วย  และถ้างานนั้นมีรถ
หรือเรือรับส่ง  ให้หมายเหตุบอกไว้ด้วย
การถวายไทยธรรมนั้น  ถ้าทายกถวายจตุปัจจัยมาอีกส่วนหนึ่งด้วย  นิยมทำใบปวารณามอบถวายด้วย  ทั้งนี้ก็เพื่อจะสงเคราะห์ให้ภิกษุได้รับค่า
จตุปัจจัยนั้นโดยชอบด้วยพระวินัย  ใบปวารณานี้นิยมทำแบบนี้คือ

ขอถวายจตุปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภค  แด่พระคุณเจ้า  เป็นจำนวน………………..บาท…………ส.ต.  หากพระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งใดอันควรแก่
สมณบริโภคแล้ว  ขอได้โปรดเรียกร้องจากกัปปิยการก  ผู้ปฏิบัติของพระคุณเจ้าเทอญ

วิธีอาราธนาศีล  อาราธนาพระปริตร  อาราธนาพระธรรม
     การอาราธนา  คือการเชื้อเชิญพระสงฆ์ในพิธีให้ศีล  ให้สวดพระปริตร  หรือให้แสดงธรรม  เป็นธรรมเนียมมีมาตั้งแต่ช้านาน  ที่จะต้องอาราธนาก่อน
 พระสงฆ์จึงจะประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ และการอาราธนาที่ถือเป็นธรรมเนียมกันมาก็มี  ๓  กรณีเท่านั้น
     วิธีอาราธนานี้  นิยมกันว่าถ้าพระสงฆ์นั่งบนอาสนะยกสูง  เจ้าภาพและแขกนั่งบนเก้าอี้  ผู้อาราธนาเข้าไปยืนระหว่างเจ้าภาพกับแถวพระสงฆ์ตรงกับ
รูปที่  ๓  หรือที่  ๔  ห่างแถวพระสงฆ์พอสมควรหันหน้าไปทางโต๊ะที่บูชา  ประนมมือไหว้พระพุทธรูปก่อน  แล้วยืนประนมมือตั้งตัวตรงกล่าวคำ
อาราธนาตามแบบที่ต้องการ  ถ้าพระสงฆ์นั่งอาสนะต่ำธรรมดาเจ้าภาพและแขกอื่นนั่งกับพื้น  ผู้อาราธนาต้องเข้าไปนั่งคุกเข่าต่อหน้าแถวพระสงฆ์ตรง
หัวหน้า  กราบพระที่โต๊ะบูชา  ๓  ครั้งก่อน  แล้วประนมมือตั้งตัวตรง  กล่าวอาราธนาตามแบบที่ต้องการ
     อนึ่งการเทศนา  ถ้าต่อจากสวดมนต์  ตอนสวดมนต์ไม่ต้องอาราธนาศีล  เริ่มต้นด้วยอาราธนาพระปริตร  แล้วอาราธนาศีลตอนพระขึ้นเทศน์  รับ
ศีลแล้วอาราธนาธรรมต่อ  แต่ถ้าสวดมนต์กับเทศน์ไม่ได้ต่อเนื่องกัน  ถือว่าเป็นคนละพิธี  ตอนสวดมนต์ก็อาราธนาตามแบบพิธีสวดมนต์เย็นตามที่
กล่าวแล้ว ตอนเทศน์ก็เริ่มต้นด้วยอาราธนาศีลก่อน  จบรับศีลแล้วจึงอาราธนาธรรมเป็นลำดับไป

คำอาราธนาศีล  ๕
     มะยัง  ภันเต  วิสุง วิสุง  รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ  ปัญจะสีลานิ  ยาจามะ
ทุติยัมปิ  มะยัง  ภันเต  วิสุง วิสุง  รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ  ปัญจะสีลานิ  ยาจามะ
ตะติยัมปิ  มะยัง  ภันเต  วิสุง วิสุง  รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ  ปัญจะสีลานิ  ยาจามะ

คำอาราธนาธรรม
พรัหมา  จะ  โลกาธิปะติ  สะหัมปะติ
กัตอัญชะลี  อันธิวะรัง  อะยาจะถะ
สันตีธะ  สัตตาปปะระชักขะชาติกา
เทเสตุ  ธัมมัง  อุนุกัมปิมัง  ปะชัง

คำอาราธนาพระปริตร
วิปัตติปะฏิพาหายะ        สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะ  ทุกขะ  วินาสายะ    ปะริตตัง  พรูพะ  มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ        สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะ  ภะยะ  วินาสายะ    ปะริตตัง  พรูพะ  มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ        สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะ  โรคะ  วินาสายะ    ปะริตตัง  พรูพะ  มังคะลัง

วิธีกรวดน้ำ
     การกรวดน้ำ  คือการอุทิศส่วนกุศลไปให้คนที่เรารักเราชอบ  หรือผู้ที่มีพระคุณ  เช่นบิดามารดา  เป็นต้น  วิธีกรวดน้ำนั้นให้หาน้ำที่สะอาดใส่
ภาชนะที่สมควร  จะเป็นแก้ว  ขันหรือขวดก็ได้  พอเมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาด้วยบท  ยถา…………ก็เริ่มกรวดน้ำ  โดยตั้งใจอุทิศส่วนบุญไปให้ญาติ
คำอุทิศไปให้จะว่าเป็นภาษาบาลีหรือภาษาไทยก็ได้  เมื่อเสร็จแล้วไห้นำน้ำนั้นไปเทที่สะอาดหรือรดต้นไม้  อย่าเทลงกระโถน  หรือที่สกปรกเพราะน้ำ
นั้นเป็นสักขีพยานในการทำบุญของเราว่า  ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจจริง ๆ 

คำกรวดน้ำย่ออุทิศส่วนกุศล
อิทัง  เม(โน)  ญาตีนัง  โหตุ  สุขิตา  โหนตุ  ญาตะโย  ฯ

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด  ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุข ๆ เถิด
     ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอุทิศผล
แผ่กุศลนี้ไปให้ไพศาล
ถึงมารดาบิดาครูอาจารย์
ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน
     คนเคยร่วมเคยรักสมัครใคร่
มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน
ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ
ขอให้ท่านได้กุศลผลนี้เทอญ ฯ
 


26 July 2018

วัดนิคมสโมสร(บางคลี)