พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ตอนที่ ๒

พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม

          พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑

     ๑๒.ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด

๑๘๒. อฏฺฐงฺคิโก จ มคฺคานํ เขมํ อมตคามินํ.
          บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ เป็นทางเกษมให้ถึงอมตธรรม.
           ม. ม. ๑๓/๒๘๑.

๑๘๓. วิสุทฺธิ สพฺพเกลฺเสหิ โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ.
         ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นความดับจากทุกข์ทั้งหลาย.
          ร. ร. ๔.

๑๘๔. ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ.
         สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
         สํ. มหา. ๑๙/๕๓๑.

๑๘๕. ยถาปจฺจยํ ปวตฺตนฺติ.
         สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมเป็นไปตามปัจจัย.
        ร. ร. ๔.

๑๘๖. อาโรคฺยปรมา ลาภา.
         ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง.
         ม. ม. ๑๓/๒๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

 ๑๘๗. ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา.
           ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง.
           ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๘๘. สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ.
          สังขารที่ยั่งยืน ไม่มี.
          ขุ. ธ. ๒๕/๔๙.

๑๘๙. อนิจฺจา วต สงฺขารา.
         สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ.
         ที. มหา. ๑๐/๑๘๑. สํ. ส. ๑๕/๘. สํ. นิ. ๑๖/๒๒๘.

๑๙๐. ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ.
         ความถึงพร้อมแห่งขณะ หาได้ยาก.
         ส. ม.

๑๙๑. ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส.
          การเห็นพระพุทธเจ้าเนือง ๆ เป็นการหาได้ยาก.
          ม. ม. ๑๓/๕๕๔. ขุ. สุ. ๒๕/๔๔๔.

๑๙๒. ขโณ โว มา อุปจฺจคา.
         ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย.
         องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๓๑. ขุ. ธ. ๒๕/๕๗. ขุ. สุ. ๒๕/๓๘๙.

๑๙๓. อติปตติ วโย ขโณ ตเถว.
         วัยย่อมผ่านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว.
          ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑๒.

๑๙๔. กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา.
          กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง.
          ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๕.

๑๙๕. อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว.
         ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มผู้ทอดทิ้งการงาน.
         ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙.

 ๑๙๖. นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา.
          ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่.
          ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๖.

๑๙๗. อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ กึ กริสฺสนฺติ ตารกา.
         ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้.
         ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๖.

๑๙๘. วโส อิสฺสริยํ โลเก.
          อำนาจเป็นใหญ่ในโลก.
          สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๑๙๙. สิริ โภคานมาสโย.
         ศรีเป็นที่อาศัยแห่งโภคทรัพย์.
         สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๒๐๐. กิจฺฉา วุตฺติ อสิปฺปสฺส.
         ความเป็นไปของคนไร้ศิลปะ ย่อมฝืดเคือง.
         ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๐.

๒๐๑. สาธุ โข สิปฺปกํ นาม อปิ ยาทิสกีทิสํ.
         ขึ้นชื่อว่าศิลปะแม้เช่นใดเช่นหนึ่ง ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้.
         ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๕.

๒๐๒. มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ.
           ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ.
            ว. ว.

๒๐๓. หิริโอตฺตปฺปิยญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ.
          หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี.
          ว. ว.

๒๐๔. โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา.
          เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก.
          ว. ว.

๒๐๕. อรติ โลกนาสิกา.
          ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย.
          ว. ว.

๒๐๖. มหาปุริสภาวสฺส ลกฺขณํ กรุณาสโห.
         อัชฌาสัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณา เป็นลักษณะของมหาบุรุษ.
         ว. ว.

๒๐๗. นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา.
         ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี.
         นัย-ส. ส.

๒๐๘. สพฺพญฺเจ ปฐวึ ทชฺชา นากตญฺญุมภิราธเย.
         ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้.
         ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๓.

๒๐๙. หนฺนติ โภคา ทุมฺเมธํ.
        โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม.
         ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๒๑๐. สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ.
         สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย.
         วิ. จุล. ๗/๑๗๒. สํ. ส. ๑๕/๒๒๖. สํ. นิ. ๑๖/๒๘๔.

๒๑๑. กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ.
         ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก.
         ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.

๒๑๒. กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ.
         ความเป็นอยู่ของสัตว์ เป็นการยาก.
         ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.

๒๑๓. กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ.
          การฟังธรรมของสัตบุรุษ เป็นการยาก.
          ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.

๒๑๔. กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.
         ความเกิดแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก.
         ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.

๒๑๕. อสชฺฌายมลา มนฺตา.
         มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน.
         องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๒๑๖. อนุฏฺฐานมลา ฆรา.
         เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน.
         องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

 ๒๑๗. มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ.
           ความเกียจคร้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ.
           องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๒๑๘. มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ.
          ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง.
          องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๒๑๙. สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ.
         ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ มีเฉพาะตัว.
         ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๒๒๐. นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย.
         ผู้อื่นพึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้.
         ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๒๒๑. สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส สทา สมฺปชฺชเต วตํ.
         พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ.
         ม. ม. ๑๒/๗๐.

๒๒๒. สุทฺสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตาโน ปน ทุทฺทสํ.
          ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก.
          ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

๒๒๓. นตฺถิ โลเก รโห นาม ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต.
         ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก.
         องฺ. ติก. ๒๐/๑๘๙. ขุ. ชา. จตุตกฺก. ๒๗/๑๓๑.

๒๒๔. เนสา สภา ยตฺถ น สนฺติ สนฺโต.
         สัตบุรุษไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา.
         สํ. ส. ๑๕/๒๗๐. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๕๑.

๒๒๕. นตฺเถตํ โลกสฺมึ ยํ อุปาทิยมานํ อนวชฺชํ อสฺส.
          สิ่งใดเข้าไปยึดถืออยู่ จะพึงหาโทษมิได้ สิ่งนั้นไม่มีในโลก.
          ร. ร. ๔.

 ๒๒๖. โภคา สนฺนิจยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ.
          โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน 
          เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้น.
          ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๒.

๒๒๗. อลํ พาลสฺส โมหาย โน จ ปารคเวสิโน.
         รูปโฉมพอลวงคนโง่ให้หลงได้ แต่ลวงคนแสวงหา
         พระนิพพานไม่ได้เลย.
         ม. ม. ๑๓/๔๐๑. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

๒๒๘. รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ.
         ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ.
         สํ. ส. ๑๕/๕๙.

๒๒๙. ถีนํ ภาโว ทุราชาโน.
         ภาวะของหญิงรู้ได้ยาก.
         ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๑.

๒๓๐. อุกฺกฏฺเฐ สูรมิจฺฉนฺติ.
        ในเวลาคับขัน ย่อมต้องการคนกล้า.
         ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๒๓๑. มนฺตีสุ อกุตูหลํ.
         ในบรรดาที่ปรึกษา ย่อมต้องการคนไม่พูดพล่าม.
         ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

 ๒๓๒. ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ.
          ในเวลามีข้าวน้ำ ย่อมต้องการคนที่รัก.
           ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๒๓๓. อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ.
         ในเมื่อเรื่องราวเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต.
          ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๒๓๔. อาปทาสุ ถาโม เวทิตพฺโพ.
          กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย.
          นัย-ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

๒๓๕. ยโส ลทฺธา น มชฺเชยฺย.
         ได้ยศแล้ว ไม่ควรเมา.
          ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๔๕.

๒๓๖. จาคมนุพฺรูเหยฺย.
          พึงเพิ่มพูลความสละ.
          ม. อุป. ๑๔/๔๓๖.

๒๓๗. สนฺติเมว สิกฺเขยฺย.
          พึงศึกษาความสงบนั่นแล.
          นัย-ม. อุป. ๑๔/๔๓๖.

๒๓๘. โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข.
          ผู้เพ่งสันติ พึงละอามิสในโลกเสีย.
          สํ. ส. ๑๕/๓, ๗๗, ๙๐.

๒๓๙. ตํ คณฺเหยฺย ยทปณฺณกํ.
         สิ่งใดไม่ผิด พึงถือเอาสิ่งนั้น.
         ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑.

๒๔๐. สมฺมุขา ยาทิสํ จิณฺณํ ปรมฺมุขาปิ ตาทิสํ.
         ต่อหน้าประพฤติเช่นใด ถึงลับหลังก็ให้ประพฤติเช่นนั้น.
         ส. ส.

 ๒๔๑. อปฺปโต โน จ อุลฺลเป.
          เมื่อยังไม่ถึง ไม่ควรพูดอวด.
          ส. ส.

๒๔๒. สนาถา วิหรถ มา อนาถา.
         ท่านทั้งหลายจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าไม่มีที่พึ่งอยู่เลย.
         นัย. องฺ. ทสกฺ ๒๔/๒๕.

๒๔๓. นาญฺญํ นิสฺสาย ชีเวยฺย.
         ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่.
          ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๙.

๒๔๔. อาโรคฺยมิจฺเฉ ปรมญฺจ ลาภํ.
          พึงปรารถนาความไม่มีโรคซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง.
          ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๗.

๒๔๕. อตีตํ นานฺวาคเมยฺย.
         ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.
          ม. อุป. ๑๔/๓๔๘.

๒๔๖. นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ.
         ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.
          ม. อุป. ๑๔/๓๔๘.

     ๑๓.ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา

๒๔๗. นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา.
          แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี.
          สํ. ส. ๑๕/๙.

๒๔๘. ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต.
          ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก.
          สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๒๔๙. โยคา เว ชายตี ภูริ.
          ปัญญาย่อมเกิดเพราะความประกอบ.
          ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.

๒๕๐. อโยคา ภูริสงฺขโย.
         ความสิ้นปัญญาย่อมเกิดเพราะความไม่ประกอบ.
         ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.

๒๕๑. สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ.
          ความได้ปัญญา ให้เกิดสุข.
          ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๒๕๒. ปญฺญา นรานํ รตนํ.
          ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน.
          สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๒๕๓. ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย.
          ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์.
          นัย- ม. ม. ๑๓/๔๑๓. นัย- ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๙.

๒๕๔. นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส.
          ความพินิจไม่มีแก่คนไร้ปัญญา.
          ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.

๒๕๖. ปญฺญา นตฺถิ อฌายโต.
         ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ.
         ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.

๒๕๗. ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ.
          คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา.
          ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.

๒๕๘. สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ.
          ผู้ไม่ประมาท พินิจพิจารณา ตั้งใจฟัง ย่อมได้ปัญญา.
          สํ. ส. ๑๕/๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๒๕๙. ปญฺญายตฺถํ วิสฺสติ.
         คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา.
         องฺ. สตฺตก. ๒๓/๓.

๒๖๐. ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ.
         คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา.
         ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๒๖๑. ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ.
         คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาแล ประเสริฐสุด.
         ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๕๔๑.

๒๖๒. ปญฺญาชิวีชีวิตมาหุ เสฏฺฐ.
        ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่า ประเสริฐสุด.
        สํ. ส. ๑๕/๕๘, ๓๑๕. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๐.

๒๖๓. เอโกว เสยฺโย ปุริโส สปญฺโญ โย ภาสิตสฺส วิชานาติ อตฺถิ.
        ผู้มีปัญญารู้เนื้อความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า.
        ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๒.

๒๖๔. พหูนํ วต อตฺถาย สปฺปญฺโญ ฆรมาวสํ.
         ผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนมาก.
         องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๔๙.

 ๒๖๕. สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา.
         ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา.
         นัย. ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

๒๖๖. ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.
        ปัญญาย่อมเจริญด้วยประการใด ควรตั้งตนไว้ด้วยประการนั้น.
        ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.

๒๖๗. ปญฺญํ นปฺปมชฺเชยฺย.
        ไม่ควรประมาทปัญญา.
         ม. อุป. ๑๔/๔๓๖.

     ๑๔.ปมาทวรรค คือหมวดประมาท

๒๖๘. ปมาโท มจฺจุโน ปทํ.
         ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย.
         ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.

๒๖๙. ปมาโท รกฺขโต มลํ.
         ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา.
         องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๒๗๐. ปมาโท ครหิโต สทา.
         ความประมาท บัณฑิตติเตียนทุกเมื่อ.
         ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๒๗๑. ปมาทมนุยุญฺชนฺติ พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา.
         คนพาลมีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาท.
         ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.
 
๒๗๒. เต ทีฆรตฺตํ โสจนฺติ เย ปมชฺชนฺติ มาณวา.
         คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.
         นัย-ม. อุป. ๑๔/๓๔๖.

๒๗๓. เย ปมตฺตา ยถา มตา.
         ผู้ประมาทแล้ว เหมือนคนตายแล้ว.
         ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.

๒๗๔. มา ปมาทมนุยุญฺเชถ.
         อย่ามัวประกอบความประมาท.
         ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.

 ๒๗๕. ปมาเทน น สํวเส.
        ไม่ควรสมคบด้วยความประมาท.
        ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. สุ. ๒๕/๕๑๘. ขุ. มหา. ๒๙/๕๑๕.

     ๑๕.ปาปวรรค คือ หมวดบาป

๒๗๖. มาลา เว ปาปกา ธมฺมา อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ.
         บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกอื่น.
         องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๒๗๗. ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.
         ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้.
         ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.

๒๗๘. ปาปานํ อกรณํ สุขํ.
         การไม่ทำบาป นำสุขมาให้.
         ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๒๗๙. ปาปํ ปาเปน สุกรํ.
         ความชั่วอันคนชั่วทำง่าย.
         วิ. จุล. ๗/๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๘.

๒๘๐. ปาเป น รมตี สุจิ.
         คนสะอาดไม่ยินดีในความชั่ว.
         วิ. มหา. ๕/๓๔. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๖.

๒๘๑. สกมฺมุนา หญฺญติ ปาปธมฺโม.
         คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน.
         ม. ม. ๑๓/๔๑๓. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๙.

๒๘๒. ตปสา ปชหนฺติ ปาปกมฺมํ.
         สาธุชนย่อมละบาปกรรมด้วยตปะ.
         ขุ. ชา. อฏฺ ฐก. ๒๗/๒๔๕.

๒๘๓. ปาปานิ กมฺมานิ กโรนฺติ โมหา.
         คนมักทำบาปกรรมเพราะความหลง.
         ม. ม. ๑๓/๔๑๓. ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๘๐.

๒๘๔. นฺตถิ ปาปํ อกุพฺพโต.
          บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ.
          ขุ. ธ. ๒๕/๓๑.

 ๒๘๕. ธมฺมํ เม ภณมานสฺส น ปาปมุปลิมฺปติ.
          เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่แปดเปื้อน.
          ขุ. ชา. สตฺตก ๒๗/๒๒๔.

๒๘๖. นตฺถิ อการิยํ ปาปํ มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน.
         คนมักพูดมุสา จะไม่พึงทำความชั่ว ย่อมไม่มี.
         นัย. ขุ. ธ. ๒๕/๓๘. นัย. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๓.

๒๘๗. ปาปานิ ปริวชฺชเย.
         พึงละเว้นบาปทั้งหลาย.
         ขุ. ธ. ๒๕/๓๑.

๒๘๘. น ฆาสเหตุปิ กเรยฺย ปาปํ.
         ไม่ควรทำบาปเพราะเห็นแก่กิน.
         นัย- ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๒.

     ๑๖.ปุคคลวรรค คือหมวดบุคคล

๒๘๙. สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม.
        ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล.
        อ. ส. ๑๕/๓๐๙. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๒.

๒๙๐. ปณฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน ชลํ อคฺคีว ภาสติ.
        บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง.
        ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๒.

๒๙๑. อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต.
       บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์.
       องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๕๙.

๒๙๒. อินฺทฺริยานิ รกฺขนิติ ปณฺฑิตา.
       บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์.
       ที. มหา. ๑๐/๒๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๗.

๒๙๓. น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ.
        บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง.
        ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

๒๙๔. นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา.
       บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง.
       องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๒๗.

๒๙๕. ทุลฺลโภ ปุริสาชญฺโญ.
         บุรุษอาชาไนย หาได้ยาก.
         ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.

๒๙๖. ทุลฺลโภ องฺคสมฺปนฺโน.
        ผู้ถึงพร้อมด้วยองคคุณ หาได้ยาก.
        ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๕.

๒๙๗. ทนฺโต เสฏฺโฐมนุสฺเสสุ.
        ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด.
        ขุ. ธ. ๒๕/๕๗. ขุ. มหา. ๒๙/๒๙๑. ขุ. จู. ๓๐/๗๔.

 ๒๙๘. มหาการุณิโก นาโถ.
         ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ประกอบด้วยกรุณาใหญ่.
         ส.  ม.

๒๙๙. กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ.
        คนฉลาด ย่อมละบาป.
        ที. มหา. ๑๐/๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/๒๑๕.

๓๐๐. นยํ นยติ เมธาวี.
       คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ.
       ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.

๓๐๑. อธุรายํ น ยุญฺชติ.
        คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ.
        ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.

๓๐๒. ธีโร โภเค อธิคมฺม สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก.
        ปราชญ์ได้โภคทรัพย์แล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ.
        ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๒๐๕.

๓๐๓. ธีโร จ พลวา สาธุ ยูถสฺส ปริหารโก.
        ปราชญ์มีกำลังบริหารหมู่ ให้ประโยชน์สำเร็จ.
        ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๑.

๓๐๔. น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต.
        สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะใคร่กาม.
        ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

๓๐๕. สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ.
        ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ.
        สํ. ส. ๑๕/๒๗๐.

๓๐๖. สนฺโต สตฺตหิเต รตา.
        สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์.
        ชาตกฏฺฐกถา ๑/๒๓๐.

 ๓๐๗. ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต.
         สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์.
         ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.

๓๐๘. สนฺโต สคฺคปรายนา.
       สัตบุรุษ มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
       สํ. ส. ๑๕/๒๗. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๔.

๓๐๙. สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ.
       สัตบุรุษ ย่อมขจรไปทั่วทุกทิศ.
       องฺ. ติก. ๒๐/๒๙๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๒.

๓๑๐. อุปสนฺโต สุขํ เสติ.
        ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข.
        วิ. จุล. ๗/๑๐๖. สํ. ส. ๑๕/๓๑๒. องฺ. ติก. ๒๐/๑๗๕.

๓๑๑. สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ.
       กลิ่นของสัตบุรุษ ย่อมไปทวนลมได้.
       องฺ. ติก. ๒๐/๒๙๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๒.

๓๑๒. อนุปาทา วิมุจฺจนฺติ.
        สาธุชนย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น.
        ม. อุป. ๑๔/๓๔๖. องฺ. ติก. ๒๐/๑๘๐.

๓๑๓. โย พาโล มญฺญติ พาลยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส.
         คนโง่รู้สึกว่าตนโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง.
         ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.

๓๑๔. น สาธุ พลวา พาโล ยูถสฺส ปริหารโก.
        คนโง่มีกำลังบริหารหมู่ ไม่สำเร็จประโยชน์.
        ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๑.

๓๑๕. พาโล อปริณายโก.
        คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ.
        ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๙.

 ๓๑๖. อุชฺฌตฺติพลา พาลา.
        คนโง่ มีความเพ่งโทษเป็นกำลัง.
        องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๒๗.

๓๑๗. อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺตึ ขิตฺตา ยถา สรา.
        อสัตบุรุษ แม้นั่งอยู่ในที่นี้เองก็ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน.
        ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.

๓๑๘. อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ.
       อสัตบุรุษ ย่อมไปนรก.
       สํ. ส. ๑๕/๒๗. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๔.

๓๑๙. อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ.
       คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำทางที่ไม่ควรแนะนำ.
       ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.

๓๒๐. อธุรายํ นิยุญฺชติ.
       คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ.
       ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.

๓๒๑. หาเปติ อตฺถํ ทุมฺเมโธ.
       คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย.
       ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๕.

๓๒๒. ทุพฺภึ กโรติ ทุมฺเมโธ.
        คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย.
        ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๑.

๓๒๓. โจรา โลกสฺมิมพฺพุทา.
        พวกโจร เป็นเสนียดในโลก.
        สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๓๒๔. สุวิชาโน ภวํ โหติ.
        ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ.
        ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.

 ๓๒๕. ทุวิชาโน ปราภโว.
        ผู้รู้ชั่ว เป็นผู้เสื่อม.
        ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.

๓๒๖. ธมฺมกาโม ภวํ โหติ.
        ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ.
        ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.

๓๒๗. ธมฺมเทสฺสี ปราภโว.
       ผู้ชังธรรม เป็นผู้เสื่อม.
       ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.

๓๒๘. สกฺกตฺวา สกฺกโต โหติ.
        ผู้ทำสักการะ ย่อมได้รับสักการะ.
        ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.

๓๒๙. ครุ โหติ สคารโว.

        ผู้เคารพ ย่อมมีผู้เคารพ.
        ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.

๓๓๐. ปูชโก ลภเต ปูชํ.
        ผู้บูชา ย่อมได้รับบูชา.
        ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.

๓๓๑. วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ.
         ผู้ไหว้ ย่อมได้รับไหว้ตอบ.
         ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.

๓๓๒. ปฏิสงฺขานพลา พหุสฺสุตา.
        ผู้ฟังมาก ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ.
        องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๒๗.

๓๓๓. สาธุ สมฺพหุลา ญาตี.
        มีญาติมาก ๆ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
        ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๓.

 ๓๓๔. วิสฺสาสปรมา ญาตี.
          ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง.
          ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๓๓๕. เนกาสี ลภเต สุขํ.
        ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข.
        ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๓.

๓๓๖. นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต.
         คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก.
         ขุ. ธ. ๒๕/๔๕.

๓๓๗. ปริภูโต มุทุ โหติ.
        คนอ่อนแอ ก็ถูกเขาดูหมิ่น.
        ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.

๓๓๘. อติติกฺโข จ เวรวา.
        คนแข็งกระด้าง ก็มีเวร.
        ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๒/๓๓๙.

๓๓๙. พหุมฺปิ รตฺโต ภาเสยฺย.
        คนรักแล้ว มักพูดมาก.
        ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.

๓๔๐. ทุฏฺโฐปิ พหุ ภาสยิ.
        คนโกรธแล้ว มักพูดมาก.
        ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.

๓๔๑. อนุปาเยน โย อตฺถํ อิจฺฉติ โส วิหญฺญติ.
        ผู้มุ่งประโยชน์โดยไร้อุบาย ย่อมลำบาก.
        ขุ. ชา. เอก.  ๒๗/๑๒๘.

๓๔๒. น อุชุภูตา วิตถํ ภณนฺติ.
       คนตรง ไม่พูดคลาดความจริง.
       ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๒๘.

 ๓๔๓. ยถาวาที ตถาการี.
        พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น.
        ที. มหา. ๑๐/๒๕๕. ขุ. สุ. ๒๕/๓๙๔. ขุ. เถร. ๒๖/๔๔๑. ขุ. ชา. จตุตฺก. ๒๗/๑๔๖.

๓๔๔. หิรินิเสโธ ปุริโส โกจิ โลกสฺมิ วิชฺชติ.
       มีบางคนในโลกที่ยับยั้งด้วยความอาย.
       สํ. ส. ๑๕/๑๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.

๓๔๕. กวิ คาถานมาสโย.
        กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย.
        สํ. ส. ๑๕/๕๒.

๓๔๖. พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร.
        มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม (ของบุตร).
        องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.

๓๔๗. ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร.
         มารดาบิดา ท่านว่าเป็นบุรพาจารย์ (ของบุตร).
         องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.

๓๔๘. อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ.
        มารดาบิดา เป็นที่นับถือของบุตร.
        องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.

๓๔๙. อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส.
        สตรีเป็นมลทินของพรหมจรรย์.
        สํ. ส. ๑๕/๕๒, ๕๙.

๓๕๐. อิตฺถี ภณฺฑานมุตฺตมํ.
        สตรีเป็นสูงสุดแห่งสิ่งของทั้งหลาย.
        สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๓๕๑. ภตฺตญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชนฺติ ปณฺฑิตา.
        ภริยาผู้ฉลาด ย่อมนับถือสามีและคนควรเคารพทั้งปวง.
        องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๗๓.

 ๓๕๒. ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา.
          สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี.
          สํ. ส. ๑๕/๕๗.

๓๕๓. สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ.
         บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
         สํ. ส. ๑๕/๑๐.

๓๕๔. โย จ ปุตฺตานมสฺสโว.
         บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
         สํ. ส. ๑๕/๑๐.

๓๕๕. ปุตฺตา วตฺถุ มนุสฺสานํ.
         บุตรทั้งหลายเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย.
         สํ. ส. ๑๕/๕๑.

๓๕๖. ผาตึ กยิรา อวิเหฐยํ ปรํ.
        ควรทำแต่ความเจริญ. อย่าเบียดเบียนเขา.
        ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๑๒.

๓๕๗. คุณวา จาตฺตโน คุณํ.
        ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้.
        ส. ส.

๓๕๘. รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ.
        พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง.
        ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๓๖.

     ๑๗.ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ

๓๕๙. ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ.
          บุญอันโจรนำไปไม่ได้.
          สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๓๖๐. ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ.
        บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต.
        ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๓๖๑. สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.
        ความสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ นำสุขมาให้.
        ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.

๓๖๒. ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ.
         บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า.
         สํ. ส. ๑๕/๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๔. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๔.

๓๖๓. ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ.
         ควรทำบุญอันนำสุขมาให้.
         สํ. ส. ๑๕/๓. องฺ. ติก. ๒๐/๑๙๘.

     ๑๘.มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู

๓๖๔. สพฺพํ เภทปริยนฺตํ เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ.
         ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด.
         ที. มหา. ๑๐/๑๔๑. ขุ. สุ. ๒๕/๔๔๘. ขุ. มหา. ๒๙/๑๔๕.

๓๖๕. อปฺปกญฺจิทํ ชีวิตมาหุ ธีรา.
         ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก.
         ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. สุ. ๒๕/๔๘๕. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

๓๖๖. น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา.
       ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย.
       ม. อุ. ๑๔/๓๔๘. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๖๕.

๓๖๗. ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา.
       เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน.
       สํ. ส. ๑๕/๓. องฺ. ติก. ๒๐/๑๙๘. ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๑๖.

๓๖๘. น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา.
        เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน.
        ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

๓๖๙. น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ.
       ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้.
       ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

๓๗๐. น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ.
        กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้.
        ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

๓๗๑. น ทีฆมายุํ ลภเต ธเนน.
        คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์.
        ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

๓๗๒. สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ.
        สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก.
        ท. มหา. ๑๐/๑๘๑. สํ. ส. ๑๕/๒๓๒.

 ๓๗๓. อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา.
        ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า.
        ที. มหา. ๑๐/๑๔๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑๗.


30 July 2018

วัดนิคมสโมสร(บางคลี)