ธรรมวิภาค
ทุกะ คือหมวด ๒
ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง
๑. สติ ความระลึกได้
๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
ธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่าง
๑. หิริ ความละอายแก่ใจ
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว
ธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่าง
๑. ขันติ ความอดทน
๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยม
บุคคลหาได้ยาก ๒ อย่าง
๑. บุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะคุณมาก่อน
๒. กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะคุณที่คนอื่นทำแล้วและตอบแทน
ติกะ คือ หมวด ๓
รัตนะ ๓ อย่าง
๑. พระพุทธเจ้า คือ ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติดีปฏิบัติชอบ ด้วยกาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัย
๒. พระธรรม คือ ข้อที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
๓. พระสงฆ์ คือ หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของท่านแล้ว ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย
คุณของรัตนะ ๓ อย่าง
๑. พระพุทธเจ้าตรัสรู้ดีโดยชอบเองแล้ว จึงสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
๒. พระธรรมย่อมรักษาป้องกันผู้ปฏิบัติ ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
๓. พระสงฆ์ ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว และสอนให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย
อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ อย่าง
๑. ทรงสั่งสอนเพื่อให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
๒. ทรงสั่งสอนมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
๓. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติย่อมได้ประโยชน์ตามสมควรแก่ความปฏิบัติ
โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง
๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
๒. ประกอบสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ
๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองมีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น
ทุจริต ๓ อย่าง
๑. กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย
๒. วจีทุจริต ประพฤติชั่วด้วยวาจา
๓. มโนทุจริต ประพฤติชั่วด้วยใจ
สุจริต ๓ อย่าง
๑. กายสุจริต ประพฤติชอบด้วยกาย
๒. วจีสุจริต ประพฤติชอบด้วยวาจา
๓. มโนสุจริต ประพฤติชอบด้วยใจ
อกุศลมูล ๓ อย่าง
๑. โลภะ อยากได้
๒. โทสะ คิดประทุษร้ายเขา
๓. โมหะ หลงไม่รู้จริง
กุศลมูล ๓ อย่าง
๑. อโลภะ ไม่อยากได้
๒. อโทสะ ไม่คิดปองร้ายเขา
๓. อโมหะ ไม่หลง
สัปปุริสบัญญัติ คือข้อที่สัตตบุรุษตั้งไว้ ๓ อย่าง
๑. ทาน สละสิ่งของ ๆ ตน เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒. ปัพพัชชา ถือบวชเป็นการเว้นการเบียดเบียนกันและกัน
๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน บำรุงมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข
อปัณณกปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติไม่ผิด ๓ อย่าง
๑. อินทรีย์สังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ ไม่ให้ยินดีกับอารมณ์ทีมากระทบ
๒. โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภค
๓. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรเพื่อชำระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก
บุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
สามัญลักษณะ ๓ อย่าง
๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ (ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ)
๓. อนัตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน
จตุกกะ คือหมวด ๔
วุฑฒิ คือ ธรรมเป็นเครื่องเจริญ ๔ อย่าง
๑. สัปปุริสสังเสวะ คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ เรียกว่า สัตบุรุษ
๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่านโดยเคารพ
๓. โยนิโสมนสิการ ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่ว โดยอุบายที่ชอบ
๔. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ ประพฤติตามสมควรแก่ธรรมซึ่งได้ตรองเห็นแล้ว
จักร ๔
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร
๒. สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ
๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
๔. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน
อคติ ๔
๑. ฉันทาคติ ลำเอียง
๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน
๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่
๑. อดทนต่อคำสอนไม่ได้ คือเบื่อต่อคำสั่งสอนขี้เกียจทำตาม
๒. เป็นคนเห็นแก่ปากแก่ท้อง ทนความอดอยากไม่ได้
๓. เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป
๔. รักผู้หญิง
ปธาน คือความเพียร ๔ อย่าง
๑. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป
อธิษฐานธรรม คือ ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อย่าง
๑. ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้
๒. สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
๓. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ
๔. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ
อิทธิบาท คือคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่าง
๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ เพียรหมั่นประกอบสิ่งนั้น
๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
ควรทำความไม่ประมาทใน ๔ สถาน
๑. ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต
๒. ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต
๓. ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต
๔. ในการละความเห็นผิด ทำความเห็นให้ถูกต้อง
ควรทำความไม่ประมาทในที่ ๔ สถาน อีกอย่างหนึ่ง
๑. ระวังใจไม่ให้กำหนัดในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
๒. ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
๓. ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
๔. ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา
ปาริสุทธิศีล ๔
๑. ปาฏิโมกสังวร สำรวมในพระปาฏิโมกข์
๒. อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๓. อาชีวปาริสุทธิ เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ
๔. ปัจจยปัจเวกขณะ พิจารณาเสียก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔
อารักขกัมมัฏฐาน ๔
๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าที่มีในพระองค์เองและทรงเกื้อกูลแก่ผู้อื่น
๒. เมตตา แผ่ไมตรีจิตคิดให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า
๓. อสุภะ พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม
๔. มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตน
พรหมวิหาร ๔
๑. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เขาเป็นสุข
๒. กรุณา ความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์
๓. มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
๔. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ
สติปัฏฐาน ๔
๑. กายานุปัสสนา พิจารณากายเป็นอารมณ์
๒. เวทนานุปัสสนา พิจารณาสุข ทุกข์ เป็นอารมณ์
๓. จิตตานุปัสสนา พิจารณาจิตเป็นอารมณ์
๔. ธรรมานุปัสสนา พิจารณาธรรมเป็นอารมณ์
ธาตุกัมมัฏฐาน ๔
๑. ธาตุดิน เรียกว่า ปฐวีธาตุ
๒. ธาตุน้ำ เรียกว่า อาโปธาตุ
๓. ธาตุไฟ เรียกว่า เตโชธาตุ
๔. ธาตุลม เรียกว่า วาโยธาตุ
อริยสัจ ๔
๑. ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือความดับทุกข์
๔. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ปัญจะกะ คือหมวด ๕
อนันตริยกรรม ๕
๑. มาตุฆาตุ ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาตุ ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาตุ ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน
อภิณหปัจจเวกข์ ๕
๑. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
๓. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว
เวสารัชชกรณธรรม คือ ธรรมทำความกล้าหาญ ๕ อย่าง
๑. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
๒. ศีล รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย
๓. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก
๔. วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร
๕. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕ อย่าง
๑. สำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต
๒. สำรวมอินทรีย์คือ ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครองงำได้ ในเวลาที่เห็นรูปด้วยตาเป็นต้น
๓. ความเป็นคนไม่เอิกเกริกเฮฮา
๔. อยู่ในเสนาสนะอันสงัด
๕. มีความเห็นชอบ
องค์แห่งธรรมกถึก คือนักเทศน์ ๕ อย่าง
๑. แสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ
๒. อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ
๓. ตั้งจิตเมตตา ปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง
๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ
๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือไม่ยกตนเสียดสีผู้อื่น
อานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๕ อย่าง
๑. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าเข้าใจสิ่งนั้นชัด
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
พละ คือธรรมเป็นกำลัง มี ๕ อย่าง
๑. สัทธา ความเชื่อ
๒. วิริยะ ความเพียร
๓. สติ ความระลึกได้
๔. สมาธิ ความตั้งใจมั่น
๕. ปัญญา ความรอบรู้
นิวรณ์ ๕
ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เรียกนิวรณ์ ๕ อย่าง
๑. พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น เรียกว่า กามฉันท์(กามฉันทะ)
๒. ปองร้ายผู้อื่น เรียกว่าพยาบาท
๓. ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม เรียกว่าถีนมิทธะ
๔. ฟุ้งซ่านและรำคาญ เรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจะ
๕. ลังเลไม่ตกลงได้ เรียกว่า วิจิกิจฉา
ขันธ์ ๕
๑. รูป คือการประชุมของธาตุ ๔
๒. เวทนา คือการเสวยอารมณ์
๓. สัญญา คือความจำได้หมายรู้
๔. สังขาร คืออารมณ์ที่ปรุงแต่งจิต
๕. วิญญาณ คือการรับรู้อารมณ์
ฉักกะ คือ หมวด ๖
คารวะ ๖ อย่าง
๑. พุทธคารวตา เคารพเอื้อเฟื้อในพระพุทธเจ้า
๒. ธัมมคารวตา เคารพเอื้อเฟื้อในพระธรรม
๓. สังฆคารวตา เคารพเอื้อเฟื้อในพระสงฆ์
๔. สิกขาคารวตา เคารพในการศึกษา
๕. อัปปมาทคารวตา เคารพในความไม่ประมาท
๖. ปฏิสันถารคารวตา เคารพในปฏิสันถาร คือ การต้อนรับ
สาราณิยธรรม คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง มี ๖ อย่าง
๑. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือช่วยขวนขวายกิจธุระของเพื่อนกันด้วยกายมีพยาบาลภิกษุไข้เป็นต้น ด้วยจิตเมตตา
๒. เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนกันด้วยวาจา เช่นกล่าวสั่งสอนเป็นต้น ด้วยจิตเมตตา
๓. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน
๔. แบ่งปันลาภที่ตนได้มาแล้วโดยชอบธรรม ให้แก่เพื่อนภิกษุสามเณร ไม่หวงไว้บริโภคเพียงผู้เดียว
๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น
๖. มีความเห็นร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่วิวาทกับใคร ๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน
อายตนะภายใน ๖ หรืออินทรีย์ ๖
๑. ตา ๒. หู ๓. จมูก ๔. ลิ้น ๕. กาย ๖. ใจ
ที่เรียกว่าอายตนะภายใน เพราะเป็นของเนื่องด้วยกาย ที่เรียกว่าอินทรีย์ เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน เช่นตา เป็นใหญ่ในการเห็นรูปเป็นต้น
อายตนะภายนอก ๖ หรืออารมณ์ ๖
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ คืออารมณ์ที่เกิดกับใจ
สิ่งเหล่านี้ที่เรียกว่า อายตนะภายนอกนั้น เพราะเป็นของที่มีอยู่ภายนอก ที่เรียกว่าอารมณ์นั้น เพราะเป็นธรรมชาติที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้ติดอยู่ในอารมณ์เหล่านั้น
วิญญาณ ๖
อาศัยรูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่าจักขุวิญญาณ
อาศัยเสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่าโสตวิญญาณ
อาศัยกลิ่นกระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่าฆานวิญญาณ
อาศัยรสกระทบลิ้น เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่าชิวหาวิญญาณ
อาศัยโผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่ากายวิญญาณ
อาศัยธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่ามโนวิญญาณ
สัมผัส ๖
อายตนะภายในมีนัยย์ตาเป็นต้น อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้น วิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้น กระทบกันเข้าเรียกว่า สัมผัส มีชื่อตามอายตนะภายใน ๖ คือ
๑. จักขุสัมผัส
๒. โสตสัมผัส
๓. ฆานสัมผัส
๔. ชิวหาสัมผัส
๕. กายสัมผัส
๖. มโนสัมผัส
เวทนา ๖
๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา
๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา
๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา
๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา
ธาตุ ๖
๑. ปฐวีธาตุ คือธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ คือธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ คือธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ คือธาตุลม
๕. อากาสธาตุ คือช่องว่างมีในกาย
๖. วิญญาณธาตุ คือความรู้อะไรได้
สัตตกะ คือ หมวด ๗
อปริหานิยธรรม ๗ อย่าง
๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันช่วยทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
๔. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน
๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
๖. ยินดีในเสนาสนะป่า
๗. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุข
อริยทรัพย์ ๗
๑. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
๒. ศีล รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย
๓. หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต
๔. โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาป
๕. พาหุสัจจะ ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมามากคือจำทรงธรรมและรู้ศิลปะวิทยาการมาก
๖. จาคะ สละให้ปันสิ่งของ ๆ ตนแก่คนที่ควรให้ปัน
๗. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
สัปปุริสธรรม ๗
๑. ความเป็นผู้รู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา)
๒. ความเป็นผู้รู้จักผล (อัตถัญญุตา)
๓. ความเป็นผู้รู้จักตน (อัตตัญญุตา)
๔. ความเป็นผู้รู้จักประมาณ (มัตตัญญุตา)
๕. ความเป็นผู้รู้จักกาล (กาลัญญุตา)
๖. ความเป็นผู้รู้จักบริษัท (ปริสัญญุตา)
๗. ความเป็นผู้รู้จักบุคคล (ปุคคลปโรปรัญญุตา)
สัปปุริสธรรม อีก ๗ อย่าง
๑. สัตตบุรุษประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ คือมีศรัทธา มีความละอายต่อบาป มีความกลัวต่อบาป เป็นคนได้ยินได้ฟังมาก เป็นคนมีความเพียร เป็นคนมีสติมั่นคง เป็นคนมีปัญญา
๒. จะปรึกษาสิ่งใดกับใคร ๆ ก็ไม่ปรึกษาเพื่อจะเบียดเบียนตนและผู้อื่น
๓. จะคิดสิ่งใดก็ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น
๔. จะพูดสิ่งใดก็ไม่พูดเพื่อจะเบียดเบียนตนและผู้อื่น
๕. จะทำสิ่งใดก็ไม่ทำเพื่อจะเบียดเบียนตนและผู้อื่น
๖. มีความเห็นชอบ มีเห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
๗. ให้ทานโดยเคารพ คือเอื้อเฟื้อแก่ของที่ตัวให้ และผู้รับทานนั้น ไม่ทำอาการดุจทิ้งเสีย
โพชฌงค์ ๗
๑. สติ ความระลึกได้
๒. ธัมมวิจยะ ความสอดสิ่งธรรม
๓. วิริยะ ความเพียร
๔. ปิติ ความอิ่มใจ
๕. ปัสสัทธิ ความสงบใจและอารมณ์
๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น
๗. อุเบกขา ความวางเฉย
อัฏฐกะ คือหมวด ๘
โลกธรรม ๘
๑. มีลาภ ๒. เสื่อมลาภ
๓. มียศ ๔. เสื่อมยศ
๕. สรรเสริญ ๖. นินทา
๗. มีสุข ๘. มีทุกข์
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ
๑. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ
๒. เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์
๓. เป็นไปเพื่อสะสมกองกิเลส
๔. เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่
๕. เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่ คือมีนี่แล้วอยากได้นั่น
๖. เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
๗. เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
๘. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพระศาสดา
๑. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
๒. เป็นไปเพื่อความปราศจากทุกข์
๓. เป็นไปเพื่อความไม่สะสมกองกิเลส
๔. เป็นไปเพื่อความอยากอันน้อย
๕. เป็นไปเพื่อความสันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่
๖. เป็นไปเพื่อความสัดจากหมู่
๗. เป็นไปเพื่อความเพียร
๘. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา
มรรคมีองค์ ๘
๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือดำริออกจากกาม ดำริในอันไม่พยาบาท และดำริในอันไม่เบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔
๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต ๓
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากความเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรในที่ ๔ สถาน
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกในสติปัฏฐานทั้ง ๔
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือเจริญฌานทั้ง ๔
นวกะ คือหมวด ๙
มละ คือมลทิน ๙ อย่าง
๑. โกรธ คือความขัดเคือง ความคิดร้าย
๒. ลบหลู่คุณท่าน คือแสดงอาการเหยียดหยามต่อผู้มีอุปการคุณ
๓. ริษยา คือความไม่อยากให้คนอื่นได้ดี
๔. ตระหนี่ คือหวงไม่อยากให้คนอื่นได้ด้วย
๕. มารยา คือทำเล่ห์กลปกปิดความจริง ให้คนอื่นเข้าใจผิด
๖. โอ้อวด คือทรนงในความรู้ความสามารถหรือในทรัพย์สมบัติของตน
๗. พูดปด คือพูดหลอกให้ผู้อื่นเข้าใจผิด
๘. ปรารถนาลามก คือต้องการให้คนอื่นเข้าใจผิด ในคุณสมบัติที่ไม่มีในตน
๙. เห็นผิด คือเห็นว่าทำดีไม่ได้ดี เป็นต้น
ทสกะ หมวด ๑๐
อกุศลกรรมบถ ๑๐
๑. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป คือฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท พูดเท็จ (พูดให้คนอื่นเข้าใจผิด)
๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด (พูดให้เขาแตกกัน)
๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ (พูดให้เขาได้อับอาย)
๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ (พูดก่อให้เขารำคาญ)
๘. อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา
๙. พยาบาท ปองร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม
กุศลกรรมบถ ๑๐
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา
๙. อพยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกรรมม์ การทำความเห็นให้ตรง
ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ๑๐ อย่าง
๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ
๒. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ความเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่นเราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย
๓. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้
๔. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ตัวของเราติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่
๕. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่
๖. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๗. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว
๘. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
๙. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรายินดีในที่สงัดหรือไม่
๑๐. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง
นาถกรณธรรม คือธรรมทำที่พึ่ง ๑๐ อย่าง
๑. ศีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๒. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้สดับตรับฟังมาก
๓. กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม
๔. โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา ความขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุสามเณร
๖. ธัมมกามตา ความใคร่ในธรรมที่ชอบ
๗. วิริยะ เพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี
๘. สันโดษ ยินดีด้วยผ้านุ่ง ผ้าห่ม อาหาร ที่นอน ที่นั่น และยา ตามมีตามได้
๙. สติ จำการที่ได้ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้
๑๐. ปัญญา รอบรู้ในกองสังขารตามเป็นจริงอย่างไร
กถาวัตถุ คือถ้อยคำที่ควรพูด ๑๐ อย่าง
๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย
๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สันโดษยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายด้วยใจ
๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่
๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร
๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล
๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้สงบ
๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา
๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส
อนุสสติ คืออารมณ์ควรระลึก ๑๐ ประการ
๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงคุณศีลของตน
๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
๖. เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา
๗. มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน
๘. กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่า ไม่งามน่าเกลียด โสโครก
๙. อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
๑๐. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงคุณพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์
ปกิณณกะ คือหมวดเบ็ดเตล็ด
อุปกิเลส คือโทษเครื่องเศร้าหมอง ๑๖ อย่าง
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒. โทสะ ความร้ายกาจ กำจัดด้วยเมตตา
๓. โกธะ ความโกรธ กำจัดด้วยกรุณา
๔. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ กำจัดด้วยกรุณา
๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน กำจัดด้วยกตัญญูกตเวที
๖. ปลาสะ ตีตนเสมอท่าน กำจัดด้วยอปจายนธรรม
๗. อิสสา ริษยา ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี กำจัดด้วยมุทิตา
๘. มัจฉริยะ ตระหนี่ กำจัดด้วยทานหรือจาคะ
๙. มายา การลวง, เล่ห์กล กำจัดด้วยสัจจะ
๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด กำจัดด้วยอัตตัญญุตา รู้จัดประมาณตน
๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ กำจัดด้วยโสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่าย
๑๒. สารัมภะ แข่งดี กำจัดด้วยอัตตัญญุตา รู้จักประมาณตน
๑๓. มานะ ถือตัว กำจัดด้วยอัตตัญญุตา รู้จักประมาณตน
๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน กำจัดด้วยคารวตา ความเคารพ
๑๕. มทะ มัวเมา กำจัด้วยสติ
๑๖. ปมาทะ เลินเล่อ กำจัดด้วยอัปปมาทะ ความไม่ประมาท
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
มรรคมีองค์ ๘
26 July 2018