พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ตอนที่ ๓

พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม

          พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑

      ๑๙.มิตตวรรค คือ หมวดมิตร

๓๗๔. สตฺโถ ปวสโต มิตฺตํ.
          หมู่เกวียน (หรือต่าง) เป็นมิตรของคนเดินทาง.
          สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๓๗๕. มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร.
         มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน.
         สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๓๗๖. สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ.
         สหาย เป็นมิตรของคนมีความต้องการเกิดขึ้นเนือง ๆ.
         สํ. ส. ๑๕/๕๑.

๓๗๗. สพฺพตฺถ ปูชิโต โหติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ.
        ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง.
        ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๕๔.

๓๗๘. สพฺเพ อมิตฺเต ตรติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ.
        ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมผ่านพ้นศัตรูทั้งปวง.
        ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๑๕๕.

๓๗๙. มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก.
       ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวแท้.
       ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๗.

๓๘๐. ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร.
       มีมิตรเลวมีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและที่เที่ยวเลว.

๓๘๑. ภริยา ปรมา สขา.
      ภริยาเป็นเพื่อนสนิท.
      สํ. ส. ๑๕/๕๑.

๓๘๒. นตฺถิ พาเล สหายตา.
       ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล.
       วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุ. ๑๔/๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓, ๕๙.

 ๓๘๓. อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา.
        เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้.
        ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๓๘๔. สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา.
        ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา.
        วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗.

๓๘๕. โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ เอโก จเร น จ ปาปานิ กริยา.
        ถ้าไม่ได้สหายผู้รอบคอบ พึงเที่ยวไปคนเดียวและไม่พึงทำความชั่ว.
        วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗.

     ๒๐.ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ

๓๘๖. น เว ยาจนฺติ สปฺปญฺญา.
         ผู้มีปัญญาย่อมไม่ขอเลย.
         ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๐.

๓๘๗. ยาจโก อปฺปิโย โหติ.
        ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รัก (ของผู้ถูกขอ).
        วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๗๗. ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๐.

๓๘๘. ยาจํ อททมปฺปิโย.
        ผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้สิ่งที่เขาขอ ย่อมไม่เป็นที่รัก (ของผู้ขอ).
        วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๗. ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๙/๒๒๐.

๓๘๙. เทสฺโส จ โหติ อติยาจนาย.
        คนย่อมเป็นที่เกลียดชังเพราะขอจัด.
        วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๔. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๐.

๓๙๐. น ตํ ยาเจ ยสฺส ปิยํ ชิคึเส.
       ไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา.
       วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๔. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๐.

     ๒๑.ราชวรรค คือ หมวดพระราชา

 ๓๙๑. ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ.
          พระราชา เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น.
          สํ. ส. ๑๕/๕๗.

๓๙๒. ราชา มุขํ มนุสฺสานํ.
         พระราชา เป็นประมุขของประชาชน.
         วิ. มหา. ๕/๑๒๔. ม. ม. ๑๓/๕๕๖. ขุ. ส. ๒๕/๔๔๖.

๓๙๓. สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหติ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก.
         ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข.
         องฺ. จตุตก. ๒๑/๙๙. ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๕๒.

 ๓๙๔. กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต.
         พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา.
         ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๘๗.

๓๙๕. สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ.
         พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบ ย่อมสง่า.
         สํ. นิ. ๑๖/๓๓๑. ขุ. ธ. ๒๕/๖๗.

๓๙๖. ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมึ เย โคตฺตปฏิสาริโน.
         พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล.
         ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๐๗. ม. ม. ๑๓/๓๒. สํ. ส. ๑๕/๒๒๕. สํ. นิ. ๑๖/๓๓๑.

 ๓๙๗. ปุตฺตกํ วิย ราชาโน ปชํ รกฺขนตุ สพฺพทา.
        พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์ ให้เหมือนบิดารักษาบุตรทุกเมื่อ.
        นัย-ส. ส.

     ๒๒.วาจาวรรค คือ หมวดวาจา

๓๙๘. หทยสฺส สทิสี วาจา.
        วาจาเช่นเดียวกับใจ.
        ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๓๘.

๓๙๙. โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ.
        เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
        ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

๔๐๐. มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.
        คนเปล่งวาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน.
        ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

๔๐๑. ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา.
        คนโกรธมีวาจาหยาบ.
        ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๓.

๔๐๒. อภูตวาที นิรยํ อุเปติ.
        คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก.
        ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.

๔๐๓. สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ.
        ความสะอาด พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ.
        นัย-ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

๔๐๔. วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ.
        ควรเปล่งวาจางาม.
        สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๔๐๕. สณฺหํ คิรํ อตฺถวตึ ปมุญฺเจ.
         ควรเปล่งวาจาไพเราะที่มีประโยชน์.
         ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๐.

๔๐๖. ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย.
        ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน.
        สํ. ส. ๑๕/๒๗๘. ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๑.

 ๔๐๗. มนุญฺญเมว ภาเสยฺย.
       ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ.
       ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๐.

๔๐๘. นามนุญฺญํ กุทาจนํ.
       ในกาลไหน ๆ ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ.
        ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๐.

๔๐๙. วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ.
        ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินกาล.
         ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๐. ขุ. สุ. ๒๕/๕๒๓. ขุ. มหา. ๒๙/๖๒๒.

๔๑๐. น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ.
       ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย.
        ขุ. ชา. ๒๗/๒๘.

     ๒๓.วิริยวรรค คือ หมวดเพียร

๔๑๑. กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ.
       คนขยัน ย่อมไม่พร่าประโยชน์ซึ่งถึงตามกาล.
       ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๑๙๕.

๔๑๒. วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ.
       คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร.
       ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๔๑๓. ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ.
        คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้.
        สํ. ส. ๑๕/๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๔๑๔. อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺตึ.
       คนไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ.
       ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑.

๔๑๕. น นิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ.
        ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย.
         ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๓.

๔๑๖. อนิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ.
       ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยไม่เบื่อหน่าย.
        ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๓.

๔๑๗. อถ ปจฺฉา กุรุเต โยคํ กิจฺเจ อาวาสุ สีทติ.
       ถ้าทำความเพียรในกิจการล้าหลัง จะจมอยู่ในวิบัติ.
       ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๓๔.

๔๑๘. หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ.
       คนที่ผัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม.
       ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๖๖.

๔๑๙. อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ.
       ควรรีบทำความเพียรในวันนี้.
       ม. อุป. ๑๔/๓๔๘. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๖๕.

 ๔๒๐. วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา.
       บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์.
       สํ. ส. ๑๕/๓๓๐.

๔๒๑. กเรยฺย โยคฺคํ ธุวมปฺปมตฺโต.
       ผู้ไม่ประมาท ควรทำความเพียรให้แน่วแน่.
       นัย-ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๗๘.

๔๒๒. ยถา ยถา ยตฺถ ลเภถ อตฺถํ ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยฺย.
        พึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วยประการใดๆ ควรบากบั่นในที่นั้น ด้วยประการนั้น ๆ.
        องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๗๐. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๐.

     ๒๔.เวรวรรค คือ หมวดเวร

๔๒๓. เย เวรํ อุปนยฺหนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ.
        เวรของผู้จองเวร ย่อมไม่ระงับ.
        นัย-ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. นัย-ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. นัย-ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

๔๒๔. เย เวรํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺมติ.
       เวรของผู้ไม่จองเวร ย่อมระงับได้.
       นัย-ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. นัย-ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. นัย-ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

๔๒๕. อเวเรน จ สมฺมนฺติ.
       เวรย่อมระงับด้วยไม่มีเวร.
       วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

๔๒๖. น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ.
       ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมระงับด้วยเวรไม่ได้เลย.
        วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

     ๒๕.สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์

๔๒๗. สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ.
        ความสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย.
        สํ. ส. ๑๕/๕๘. ขุ. ชา. ๒๕/๓๖๐.

๔๒๘. สจฺจํ เว อมตา วาจา.
         คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย.
         สํ. ส. ๑๕/๒๗๘. ขุ. เถร. ๒๖/๔๓๔.

๔๒๙. สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ.
         คนได้เกียรติ (ชื่อเสียง) เพราะความสัตย์.
         สํ. ส. ๑๕/๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๔๓๐. สจฺเจน อตฺเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา.
         สัตบุรุษได้ตั้งมั่นในความสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม.
         สํ. ส. ๑๕/๒๗๘. ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๔๓๔.

๔๓๑. สจฺจมนุรกฺเขยฺย.
         พึงตามรักษาความสัตย์.
         ม. อุป. ๑๔/๔๓๖.

     ๒๖.สติวรรค คือ หมวดสติ

๔๓๒. สติ โลกสฺมิ ชาคโร.
       สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก.
       สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๔๓๓. สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา.
      สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง.
      ว. ว.

๔๓๔. สติมโต สทา ภทฺทํ.
       คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ.
       สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.

๔๓๕. สติมา สุขเมธติ.
       คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข.
       สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.

๔๓๖. สติมโต สุเว เสยฺโย.
       คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน.
       สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.

๔๓๗. รกฺขมาโน สโต รกฺเข.
      ผู้รักษา ควรมีสติรักษา.
      ส. ส.

     ๒๗.สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา

๔๓๘. สทฺธา พนฺธติ ปาเถยฺยํ.
        ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียง (คือกุศล).
         สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๔๓๙. สทฺธา สาธุ ปติฏฺฐิตา.
       ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
       สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๔๔๐. สุขา สทฺธา ปติฏฺฐิตา.
      ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้.
      ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๔๔๑. สทฺธีธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺฐํ.
       ศรัทธาเป็นทรัพย์ประเสริฐของคนในโลกนี้.
       สํ. สํ. ๑๕/๕๘. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๐.

๔๔๒. สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ.
       ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน.
       สํ. ส. ๑๕/๓๕, ๕๒.

     ๒๘.สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ

๔๔๓. สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ.
         ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง.
         ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๔๔. ตุฏฺฐี สุขา อิตรีตเรน.
         ความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำสุขมาให้.
         ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๔๔๕. สุโข วิเวโก ตุฏฺฐสฺส สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต.
        ความสงัดของผู้สันโดษ มีธรรมปรากฏ เห็นอยู่ นำสุขมาให้.
        วิ. มหา. ๔/๖. ขุ. อุ. ๒๕/๘๖.

๔๔๖. ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฺฐพฺพํ.
       ได้สิ่งใด พอใจด้วยสิ่งนั้น.
        วิ. ภิ. ๓/๙๖. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๔.

๔๔๗. สลาภํ นาติมญฺเญยฺย.
       ไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน.
        ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.

     ๒๙.สมณวรรค คือ หมวดสมณะ

๔๔๘. สมณีธ อรณา โลเก.
        สมณะในศาสนานี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก.
        สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๔๔๙. น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต.
       บรรพชิตฆ่าผู้อื่นเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นสมณะเลย.
       ที. มหา. ๑๐/๕๗. ขุ. ธ. ๒๕/๔๐.

๔๕๐. อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ.
       บรรพชิตผู้ไม่สำรวม ไม่ดี.
        ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๔๖.

๔๕๑. อเปโต ทมสจฺเจน น โส กาสาวมรหติ.
       ผู้ปราศจากทมะและสัจจะ ไม่ควรครองผ้ากาสาวะ.
       ขุ. ธ. ๒๕/๑๖. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๓. ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๐.

๔๕๒. อุเปโต ทมสจฺเจน ส เว กาสาวมรหติ.
       ผู้ประกอบด้วยทมะและสัจจะนั้นแล ควรครองผ้ากาสาวะ.
       ขุ. ธ. ๒๕/๑๖. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๓. ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๐.

๔๕๓. สุภาสิตทฺธชา อิสโย.
       ฤษีทั้งหลาย มีสุภาษิตเป็นธงชัย.
       สํ. นิ. ๑๖/๓๒๖. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๖๖. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๕๒.


๔๕๔. สมโณ อสฺส สุสฺสมโณ.
        สมณะ พึงเป็นสมณะที่ดี.
        วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๒๙๘.

๔๕๕. สามญฺเญ สมโณ ติฏฺเฐ.
        สมณะ พึงตั้งอยู่ในภาวะแห่งสมณะ.
        ส. ส.

     ๓๐.สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี

๔๕๖. สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี.
        ความพร้อมเพรียงของหมู่ ให้เกิดสุข.
        ขุ. ธ. ๒๕/๔๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๓๘. องฺ. ทสก. ๒๔/๘๐.

๔๕๗. สมคฺคานํ ตโป สุโข.
        ความเพียรของผู้พร้อมเพรียงกัน ให้เกิดสุข.
        ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.

๔๕๘. สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา.
        ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ.
        ส. ส.

     ๓๑.สีลวรรค คือ หมวดศีล

๔๕๙. สีลํ ยาว ชรา สาธุ.

        ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา.
        สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๔๖๐. สุขํ ยาว ชรา สีลํ.
       ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา.
       ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๔๖๑. สีลํ กิเรว กลฺยาณํ.
       ท่านว่าศีลนั่นเทียว เป็นความดี.
       ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

๔๖๒. สีลํ โลเก อนุตฺตรํ.
       ศีลเป็นเยี่ยมในโลก.
       ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

๔๖๓. สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ.
       ศีลพึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน.
       นัย-ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

๔๖๔. สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร.
       ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี.
       สํ. ส. ๑๕/๑๐๖. ขุ. ธ. ๒๕/๖๔.

๔๖๕. สญฺญมโต เวรํ น จียติ.
       เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น.
       ที. มหา. ๑๐/๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/๒๑๕.

๔๖๖. สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี.
       ปราชญ์พึงรักษาศีล.
       ขุ. อิติ. ๒๕/๒๘๒

     ๓๒.สุขวรรค คือ หมวดสุข

๔๖๗. สพฺพตฺถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ.
        ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง.
        ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๔๖๘. อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก.
        ความไม่เบียดเบียน เป็นสุขในโลก.
        วิ. มหา. ๔/๖. ขุ. อุ. ๒๕/๘๖.

๔๖๙. เตสํ วูปสโม สุโข.
       ความสงบระงับแห่งสังขารนั้น เป็นสุข.
       สํ. ส. ๑๕/๘. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑.

๔๗๐. นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ.
        ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี.
        ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๗๑. นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.
        นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.
        ม. ม. ๑๓/๒๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๗๒. สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท.
        ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้.
        ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.

๔๗๓. สุขา สทฺธมฺมเทสนา.
        การแสดงสัทธรรม นำความสุขมาให้.
        ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.

๔๗๔. อทสฺสเนน พาลานํ นิจฺจเมว สุขี สิยา.
        จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล.
         ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๗๕. สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ เยน เมตฺตา สุภาวิตา.
        ผู้เจริญเมตตาดีแล้ว ย่อมหลับและตื่นเป็นสุข.
        ว. ว.

๔๗๖. น เว อนตฺถกุสเลน อตฺถจริยา สุขาวหา.
        การประพฤติประโยชน์กับคนไม่ฉลาดในประโยชน์ ไม่นำสุขมาให้เลย.
        ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๕.

     ๓๓.เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา

๔๗๗. วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ.
         เพราะความไว้ใจ ภัยจึงตามมา.
         ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๔๗๘. อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย.
         เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักก็มักหน่าย.
         ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๔๗.

๔๗๙. ยํ เว เสวติ ตาทิโส.
         คบคนใด ก็เป็นเช่นคนนั้นแล.
          ว. ว.

๔๘๐. เอกรตฺตํ ทฺวิรตฺตํ วา ทุกฺขํ วสติ เวริสุ.
         อยู่ในพวกไพรีคืนเดียวหรือสองคืน ก็เป็นทุกข์.
         ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๔.

๔๘๑. ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิตฺเตเนว สพฺพทา.
         อยู่ร่วมกับพวกพาล นำทุกข์มาให้เสมอไปเหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู.
         ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๘๒. ธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม.
         อยู่ร่วมกับปราชญ์ นำสุขมาให้เหมือนสมาคมกับญาติ.
         ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๘๓. สุโข หเว สปฺปุริเสน สงฺคโม.
        สมาคมกับสัตบุรุษ นำสุขมาให้.
        ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๕.

๔๘๔. นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี.
        ผู้คบคนเลว ย่อมเลวลง.
        องฺ. ติก. ๒๐/๑๕๘.

๔๘๕. ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม.
        สมาคมกับคนพาล นำทุกข์มาให้.
        ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๕.

๔๘๖. น สงฺคโม ปาปชเนน เสยฺโย.
        สมาคมกับคนชั่ว ไม่ดีเลย.
        ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๑.

 ๔๘๗. ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม.
         การสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ.
         ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๕.

๔๘๘. น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ.
         ผู้ไม่คบหาคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว.
         ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๖.

๔๘๙. พาลสงฺคตจารี หิ ทีฆมทฺธาน โสจติ.
         ผู้เที่ยวสมาคมกับคนพาล ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.
         ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๙๐. ยตฺถ เวรี นิวีสติ น วเส ตตฺถ ปณฺฑิโต.
         ไพรีอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่ในที่นั้น.
         ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๔.

๔๙๑. สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส.
         ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ.
         ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๗.

๔๙๒. น วิสฺสเส อวิสฺสฏฺฐ วิสฺสฏฺเฐปิ น วิสฺสเส.
         ไม่ควรไว้ใจในคนไม่คุ้นเคย แม้ในคนคุ้นเคย ก็ไม่ควรไว้ใจ.
         ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๔๙๓. อนตฺถา เยว วฑฺฒนฺติ พาลํ ปจฺจูปเสวโต.
        เมื่อคบหาคนพาล ย่อมมีแต่ความฉิบหาย.
        นัย. ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๕.

๔๙๔. นาสฺมเส กตปาปมฺหิ.
        ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป.
         ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.

๔๙๕. นาสฺมเส อลิกวาทิเน.
       ไม่ควรไว้ใจคนพูดพล่อย ๆ.
       ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.

๔๙๖. นาสฺมเส อตฺตตฺถปญฺญมหิ.
         ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว.
         ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.

 ๔๙๗. อติสนฺเตปิ นาสฺมเส.
          ไม่ควรไว้ใจคนที่แสร้งทำสงบเสงี่ยม.
           ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.

๔๙๘. อเปตจิตฺเตน น สมฺภเชยฺย.
         ไม่ควรคบกับคนสิ้นคิด.
          ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๔.

๔๙๙. น สนฺถวํ กาปุริเสน กยิรา.
        ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว.
         ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๕.

๕๐๐. มาสฺสุ พาเลน สงฺคจฺฉิ อมิตฺเตเนว สพฺพทา.
        อย่าสมาคมกับคนพาลซึ่งเป็นดังศัตรูทุกเมื่อ.
        ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๕.

                           อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก.            องฺคุตฺตรนิกาย                             อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก.            องฺคุตฺตรนิกาย                             จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก.              องฺคุตฺตรนิกาย                             ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก.                องฺคุตฺตรนิกาย                             ติกนิปาต
องฺ. ทสก.              องฺคุตฺตรนิกาย                             ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก.            องฺคุตฺตรนิกาย                             ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก.            องฺคุตฺตรนิกาย                             สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ.                  องฺคุตฺตรนิกาย                            อิติวุตฺตก
ชุ. อุ.                   ขุทฺทกนิกาย                                อุทาน
ขุ. จริยา                ขุทฺทกนิกาย                               จริยาปิฏก
ขุ. จู.                   ขุทฺทกนิกาย            ชาดก            จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก.        ขุทฺทกนิกาย           ชาดก             อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ.          ขุทฺทกนิกาย           ชาดก             อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก.          ขุทฺทกนิกาย            ชาดก             เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส.    ขุทฺทกนิกาย           ชาดก             จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก.        ขุทฺทกนิกาย           ชาดก             จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก.          ขุทฺทกนิกาย          ชาดก              ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส.            ขุทฺทกนิกาย          ชาดก              ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก.            ขุทฺทกนิกาย          ชาดก              ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส          ขุทฺทกนิกาย          ชาดก              เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส.      ขุทฺทกนิกาย          ชาดก              ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก          ขุทฺทกนิกาย          ชาดก              ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก.           ขุทฺทกนิกาย          ชาดก              ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก.          ขุทฺทกนิกาย          ชาดก             นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก.    ขุทฺทกนิกาย          ชาดก             ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก.       ขุทฺทกนิกาย          ชาดก             ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส.     ขุทฺทกนิกาย          ชาดก            ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา.          ขุทฺทกนิกาย          ชาดก            มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ.          ขุทฺทกนิกาย          ชาดก            วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี.          ขุทฺทกนิกาย          ชาดก            สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก         ขุทฺทกนิกาย          ชาดก            สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ.        ขุทฺทกนิกาย          ชาดก            สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร.                 ขุทฺทกนิกาย                             เถราคาถา
ขุ. เถรี.                 ขุทฺทกนิกาย                             เถรีคาถา
ขุ. ธ.                    ขุทฺทกนิกาย                             ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ.                 ขุทฺทกนิกาย                             ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ.                   ขุทฺทกนิกาย                             พุทฺธวํส
ขุ. มหา.                ขุทฺทกนิกาย                             มหานิทฺเทส
ขุ. วิ.                    ขุทฺทกนิกาย                             วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต.                ขุทฺทกนิกาย                             เปตวตฺถุ
ขุ. สุ.                    ขุทฺทกนิกาย                            สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ.                ทีฆนิกาย                                ปาฏิกวคฺค
ที. มหา.                ทีฆนิกาย                                มหาวคฺค
ม. อุป.                  มชฺฌิมนิกาย                            อุปริปณฺณาสก
ม. ม.                    มชฺฌิมนิกาย                            มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล.                  วินัยปิฏก                                 จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ.                    วินัยปิฏก                                 ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา.                วินัยปิฏก                                 มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค.         วินัยปิฏก                                 มหาวิภงฺค
สํ. นิ.                   สํยุตฺตนิกาย                              นิทานวคฺค
สํ. มหา.               สํยุตฺตนิกาย                              มหาวารวคฺค
สํ. ส.                   สํยุตฺตนิกาย                             สคาถวคฺค


30 July 2018

วัดนิคมสโมสร(บางคลี)